คณะกรรมการชุดย่อย

 

คณะกรรมการชุดย่อย ประกอบด้วย

คณะกรรมการตรวจสอบ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566  คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท มีจำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย

 

รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ

ตำแหน่ง

1.       นายมนู เลียวไพโรจน์

ประธานกรรมการตรวจสอบ

2.       ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ

กรรมการตรวจสอบ

3.       นายอร่าม เสนามนตรี*

กรรมการตรวจสอบ

 

โดยมีนายคัณชิต ยิ้มกริ่ม เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

ทั้งนี้ ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านบัญชีและการเงินเพียงพอที่จะทำหน้าที่สอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินของบริษัท โดย ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเคมี จาก West Virginia University และปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก West Virginia University

 

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ

                คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่รับผิดชอบการสอบทานรายงานทางการเงินของบริษัท ความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจัดทำรายงาน หรือให้ความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อขออนุมัติ หรือเพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี ดังนี้

  1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง และเพียงพอ
  2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน และ/หรือ การว่าจ้างบริษัทตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
  3. สอบทานให้บริษัท ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของบริษัท
  4. พิจารณา คัดเลือก และเสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าวต่อคณะกรรมการเพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  5. พิจารณารายการเกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศคณะกรรมการตลาดทุน และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
  6. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
  • ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
  • ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท
  • ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนด ของ ตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของบริษัท
  • ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
  • ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
  • ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter)
  • รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
  1. ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำดังต่อไปนี้ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร

(1)  รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์

(2)  การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน

(3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

                หากคณะกรรมการบริษัท หรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาข้างต้น กรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งอาจรายงานว่ามีรายการ หรือการกระทำตามข้างต้นต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ

  1. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ

ทบทวนข้อบังคับ และผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมาอย่างน้อยปีละหนึ่ง (1) ครั้ง

 

คณะจัดการ

            ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 คณะจัดการของบริษัท มีจำนวน 10 ท่าน ประกอบด้วย

 

รายชื่อคณะจัดการ

ตำแหน่ง

1.       นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์

     ประธานคณะจัดการ

2.       นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์

     รองประธานคณะจัดการ

3.       ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์

     รองประธานคณะจัดการ

4.       นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์

     รองประธานคณะจัดการ

5.       นายประหยัด เลี่ยวไพรัตน์

     สมาชิกคณะจัดการ

6.       นางสาวภัทรพรรณ เลี่ยวไพรัตน์

     สมาชิกคณะจัดการ

7.       นายภากร เลี่ยวไพรัตน์

     สมาชิกคณะจัดการ

8.       นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์

     สมาชิกคณะจัดการ

9.       นางณิธาวัน เลี่ยวไพรัตน์

     สมาชิกคณะจัดการ

10.    ดร. ปรกฤษฏ์  เลี่ยวไพรัตน์

     สมาชิกคณะจัดการ

 

อำนาจหน้าที่ของคณะจัดการ

คณะจัดการได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. บริหารและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ เป้าหมายและแผนการดำเนินงาน เป้าหมายทางการเงิน และงบประมาณของบริษัท โดยพิจารณาถึงปัจจัยทางธุรกิจอย่างเหมาะสม เพื่อนำเสนอและขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท และในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลง คณะจัดการจะพิจารณาทบทวนการใช้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ รวมทั้งดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัท
  2. ติดตามผลการดำเนินงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบาย กลยุทธ์ทางธุรกิจ เป้าหมายและแผนการดำเนินงาน เป้าหมายทางการเงิน และงบประมาณของบริษัท ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเอื้อต่อสภาพธุรกิจ พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำ การบริหารจัดการแก่ผู้บริหารระดับสูง
  3. พิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง โดยคณะจัดการจะเป็นผู้พิจารณาเบื้องต้นในการกลั่นกรองสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เหมาะสม มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการของบริษัท ก่อนเสนอให้คณะกรรมการบริษัท พิจารณาอนุมัติ กำหนดโครงสร้างองค์กรและนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการบริษัทพิจารณาและติดตามแผนงานการสร้างผู้บริหารทดแทน รวมถึงแผนงานด้านกำลังคนและการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทน และหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของผู้บริหาร
  4. แต่งตั้งและถอดถอนพนักงาน ตลอดจนกำหนดจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงาน
  5. พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะหรือความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัท เกี่ยวกับโครงการข้อเสนอหรือการเข้าทำธุรกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงพิจารณาทางเลือกในการระดมทุน เมื่อมีความจำเป็น และเกินกว่าวงเงินที่ได้กำหนดไว้และ/หรือที่กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องหรือข้อบังคับบริษัท กำหนดให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นและ/หรือคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
  6. ดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั่วไปของบริษัท รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบใดๆ ตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
  7. แต่งตั้ง และ/หรือ มอบหมายให้สมาชิกคณะจัดการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคน กระทำการใดๆ ที่อยู่ภายในขอบอำนาจของคณะจัดการ ตามที่คณะจัดการเห็นสมควร ตลอดจนตารางกำหนดอำนาจอนุมัติ (Table of Authority) ที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด โดยที่คณะจัดการอาจยกเลิกเพิกถอน หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจดังกล่าวได้ภายในขอบอำนาจของคณะจัดการ

 

คณะกรรมการสรรหา

            ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566  คณะกรรมการสรรหาของบริษัท มีจำนวน  16 ท่าน ประกอบด้วย

 

รายชื่อ

ตำแหน่ง

1.    นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์

ประธานกรรมการ

2.    นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์

รองประธานกรรมการ

3.    ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์

รองประธานกรรมการ

4.    นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์

รองประธานกรรมการ

5.    นายประหยัด เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

6.    นางสาวภัทรพรรณ เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

7.    นายภากร เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

8.    นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

9.    นางณิธาวัน เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

10. นางสาวมาลินี เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

11.  ดร. ปรกฤษฏ์ เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

12. นายมนู เลียวไพโรจน์

กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ

13. ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ

กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

14. นายอร่าม เสนามนตรี

กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

15. นายขันธ์ชัย วิจักขณะ

กรรมการอิสระ

16. นายวันชัย มโนสุทธิ

กรรมการอิสระ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหา

  1. 1. กำหนดวิธีการและหลักเกณฑ์การสรรหากรรมการบริษัทเพื่อให้เกิดความโปร่งใส
  2. คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการใหม่ เมื่อมีตำแหน่งว่างลง (จากการลาออก หรือครบวาระ) เพื่อเสนอ/พิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการ และ/หรือเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อดำเนินการแต่งตั้ง โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของคณะกรรมการความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท ตามองค์ประกอบ ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)รวมทั้งไม่มีกรณีผลประโยชน์ขัดแย้งกับบริษัท  อีกทั้งคุณสมบัติของกรรมการที่ต้องการสรรหาต้องให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท
  3. พิจารณาเสนอชื่อกรรมการ เพื่อทำหน้าที่กรรมการเฉพาะเรื่อง โดยพิจารณาตามองค์ประกอบของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง คุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของกรรมการ ที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการเฉพาะเรื่อง และนำเสนอต่อคณะกรรมการ  เพื่อพิจารณาแต่งตั้ง
  4. คณะกรรมการสรรหาควรประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  5. เลขานุการบริษัทปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหา

คณะกรรมการค่าตอบแทน

            ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566  คณะกรรมการค่าตอบแทนของบริษัท มีจำนวน  16 ท่าน ประกอบด้วย

 

รายชื่อ

ตำแหน่ง

1.       นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์

ประธานกรรมการ

2.       นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์

รองประธานกรรมการ

3.       ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์

รองประธานกรรมการ

4.       นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์

รองประธานกรรมการ

5.       นายประหยัด เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

6.       นางสาวภัทรพรรณ เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

7.       นายภากร เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

8.       นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

9.      นางณิธาวัน เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

10.    นางสาวมาลินี เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

11.    ดร. ปรกฤษฏ์ เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

12.    นายมนู เลียวไพโรจน์

กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ

13.    ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ

กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

14.    นายอร่าม เสนามนตรี

กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

15.    นายขันธ์ชัย วิจักขณะ

กรรมการอิสระ

16.    นายวันชัย มโนสุทธิ

กรรมการอิสระ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน

  1. กำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการกำหนดค่าตอบแทน รวมทั้งพิจารณาเสนอค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล สำหรับกรรมการและกรรมการเฉพาะเรื่อง ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ และที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. พิจารณาเสนอแนวทางการประเมินผลและค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหาร เพื่อพิจารณาอนุมัติ
  3. รับทราบและให้ข้อเสนอแนะเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กรและระดับงาน รวมทั้งการประเมินผลและพิจารณาค่าตอบแทนผู้บริหาร
  4. มีความรับผิดตามบทบาทหน้าที่และคณะกรรมการ มีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
  5. เปิดเผยรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนไว้ในรายงานประจำปี
  6. คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนควรประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  7. เลขานุการบริษัทปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการค่าตอบแทน

 

คณะกรรมการบรรษัทภิบาล

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566  คณะกรรมการบรรษัทภิบาล ของบริษัท มีจำนวน  16 ท่าน ประกอบด้วย

 

รายชื่อ

ตำแหน่ง

1.       นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์

ประธานกรรมการ

2.       นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ 1/

รองประธานกรรมการ

3.       ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์

รองประธานกรรมการ

4.       นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์

รองประธานกรรมการ

5.       นายประหยัด เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

6.       นางสาวภัทรพรรณ เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

7.       นายภากร เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

8.       นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

9.       นางณิธาวัน เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

10.    นางสาวมาลินี เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

11.     ดร. ปรกฤษฏ์ เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

12.    นายมนู เลียวไพโรจน์

กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ

13.    ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ

กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

14.    นายอร่าม เสนามนตรี 2/

กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

15.    นายขันธ์ชัย วิจักขณะ

กรรมการอิสระ

16.    นายวันชัย มโนสุทธิ

กรรมการอิสระ

 

ขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ

  1. กำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อการมีธรรมาภิบาลที่ดีและเพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
  2. พิจารณาให้ความเห็น ให้ข้อเสนอแนะ และทบทวนนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น รวมถึงนโยบายและแนวปฏิบัติอื่นใดที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทบนหลักบรรษัทภิบาลให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานด้านการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และนโยบายหรือแนวปฏิบัติอื่นใด ที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทตามแนวธรรมาภิบาล ให้เหมาะสมกับธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย
  3. ดูแลให้ฝ่ายจัดการนำนโยบายแนวปฏิบัติต่าง ๆ ไปใช้พัฒนาบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ทั้งนี้แนวปฏิบัติดังกล่าวต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับธุรกิจของบริษัทข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่กำกับดูแล หรือ เกี่ยวข้องและเทียบเคียงได้กับมาตรฐานสากล
  4. ติดตามและทบทวน แนวปฏิบัติและระบบงานต่าง ๆ ภายในองค์กร ให้สอดคล้องกับนโยบาการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ และแนวปฏิบัติที่ดีตามที่ได้กำหนดไว้ และดูแลให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  5. ติดตามและสั่งการ กรณีที่การปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการและพนักงานมีประเด็นเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติที่วางไว้
  6. ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการ รวมถึงบริษัทย่อย ตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ และนโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทและบริษัทย่อย และประมวลผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการประจำปี นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทของปีถัดไป พร้อมทั้งนำเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะที่จำเป็น
  7. รายงานผลการปฏิบัติงานขององค์กร สนับสนุนการมีส่วนร่วม พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการสื่อสารให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตระหนักและเข้าใจถึงนโยบาย และแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมธุรกิจ และข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
  8. ขอความเห็นทาวิชาชีพจากบุคคลหรือองค์กรภายนอก เพื่อให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำที่เป็นอิสระเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้แก่คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งการว่าจ้างบุคคลภายนอกเฉพาะคราว เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการบรรษัทภิบาล เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลาที่กำหนด และการว่าจ้างดังกล่าวจะเป็นผลดีแก่บริษัท
  9. รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการบริษัท และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  10. ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลประจำปี และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริษัท
  11. ปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และปฏิบัติการใด ๆ ตามที่กำหนดโดยกฎหมายหรือข้อกำหนดของหน่วยงานราชการ

 

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566  คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ของบริษัท มีจำนวน  11 ท่าน ประกอบด้วย

 

รายชื่อ

ตำแหน่ง

การเข้าร่วมประชุม

1.       นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์

ประธานกรรมการ

1/1

2.       นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

1/1

3.       นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

1/1

4.       ดร.ปรกฤษฎ์ เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

1/1

5.       นายประเสริฐ อิทธิเมฆินทร์

กรรมการ

1/1

6.       นางสาวจุฬารัตน์ ด่านวัฒนชัย

กรรมการ

1/1

7.       นายวรวิทย์ เลิศบุษราคาม

กรรมการ

1/1

8.       นายกำจร ไพโรจน์ศักดิ์

กรรมการ

1/1

9.       นายนิติพงษ์ สุจริตพงษ์

กรรมการ

1/1

10.    นางสาวกุสุมา จันทโรธร

กรรมการ

1/1

11.    นางโสมพันธ์ แก้วสุวรรณ

เลขานุการ

1/1

 

ขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ

  1. พิจารณาสอบทาน และนำเสนอนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง ให้แก่คณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณา อนุมัติ
  2. พิจารณาสอบทานและให้ความเห็นชอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อ รับทราบ
  3. กำกับดูแลกิจการการพัฒนาและการปฏิบัติตามนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มบริษัท มี ระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรและมีการปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
  4. สอบทานรายงานการบริหารความเสี่ยง เพื่อติดตามความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญ และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า องค์กรมีการจัดการความเสี่ยงอย่างเพียงพอและเหมาะสม
  5. ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับความเสี่ยงที่สำคัญ และมีหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นผู้สอบทานเพื่อให้มั่นใจว่า บริษัท มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมต่อการจัดการความเสี่ยง รวมทั้งการนำระบบการบริหารความเสี่ยงมาปรับใช้อย่างเหมาะสมและมีการปฏิบัติตามทั่วทั้งองค์กร
  6. รายงานคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับความเสี่ยงและและการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ
  7. ให้คำแนะนำและคำปรึกษากับคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง (Sub Risk-Management Committee : SRM) และ/หรือหน่วยงาน และ/หรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง
  8. พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการและ/หรือบุคลากรเพิ่มเติมหรือทดแทนในคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง และ/หรือหน่วยงาน และ/หรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงตามความเหมาะสม รวมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
  9. ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
  10. ประเมินความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566  คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืน ของบริษัท ประกอบด้วย

 

เลขที่

       ชื่อ – สกุล

        ตำแหน่ง

การเข้าร่วมประชุม*

1

นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์

ประธานคณะกรรมการความยั่งยืน

1/1

2

คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืน

(ชุดสำนักงานใหญ่)

รายชื่อกรรมการตามโครงสร้าง

1/1

3

คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืน

(ชุดโรงงานสระบุรี)

รายชื่อกรรมการตามโครงสร้าง

1/1

         

 

ขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ

  1. 1. กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ กรอบดำเนินงาน แนวทางดำเนินกลยุทธ์ และพิจารณาคัดเลือกประเด็นที่ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร รวมถึงกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เสนอต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. 2. กำกับดูแล ทบทวน ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการ และประเมินประสิทธิผลของการดำเนินการตามนโยบายพัฒนาความยั่งยืน
  3. 3. ส่งเสริมให้นำไปสู่การปฏิบัติ และสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  4. 4. ให้คำปรึกษา ส่งเสริม สนับสนุนทรัพยากรและบุคลากรที่เหมาะสม เพื่อให้มีการดำเนินกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นทั่วองค์กรและสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  5. 5. ประธานคณะกรรมการฯ มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแต่ละด้านให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับประเด็นสำคัญขององค์กร
  6. รายงานผลการดำเนินงานการจัดทำรายงานความยั่งยืนต่อผู้บริหารระดับสูง
  7. กำกับดูแลการดำเนินการตามกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นโยบายคุกกี้

This website stores cookies to provide you with a better experience of our website, and to enable us to provide you with offers, promotional activities, and personalised content. Use of this website is an acceptance of the terms and consent to us to store cookies in accordance with the policy initially stated. เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงให้เราสามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมให้กับคุณอย่างเป็นส่วนตัว การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุกกี้ตามนโยบายที่แจ้งในเบื้องต้น