ผลการดำเนินงานเชิงเศรษฐกิจ และผลกระทบทางอ้อมเชิงเศรษฐกิจ
(Economic Performance & Indirect Economic Impacts)
การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจผ่านแบบจำลองธุรกิจการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือเป็นกุญแจสำคัญต่อการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างบริษัท และสังคมให้สามารถเจริญเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ อนึ่งการสร้างความมั่นคงทางพลังงานผ่านการส่งเสริมธุรกิจไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเสริมความมั่นคงสาธารณูปโภคของประเทศในระยะยาวอันมีส่วนต่อการสร้างสรรค์เศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยในปี 2567 บริษัทได้มีการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญ เช่น กลยุทธ์ในการเพิ่มรายได้ การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเพื่อเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงสุด และเพิ่มปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้า การลดต้นทุนการผลิต และการเติบโตโดยการขยายการลงทุน เพื่อสร้างผลประกอบการที่ดีของบริษัท อันนำมาซึ่งการกระจายรายได้ และผลประโยชน์ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่มของบริษัท
แนวการบริหารจัดการ
- การบริหารสัญญาขายไฟฟ้า สำหรับโรงไฟฟ้าที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในปัจจุบันเนื่องจากสัญญาขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในปัจจุบัน จำนวน 3 สัญญาและจำหน่ายให้กับโรงงานปูนซิเมนต์ มีราคาจำหน่ายไฟฟ้าในแต่ละสัญญาแตกต่างกัน เช่น ราคาขายไฟฟ้าต่อหน่วย สำหรับโครงการ 90 เมกะวัตต์ มีค่า adder รวมอยู่กับค่าไฟฟ้าฐานอยู่ ดังนั้นจึงมีการวางแผนในการจัดการเดินเพื่อจำหน่ายไฟฟ้า ให้เต็มสัญญาในส่วนนี้ ส่วนที่ 2 คือ สัญญาขายไฟฟ้าในกับโรงงานปูนซิเมนต์ จะมีอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงเป็นลำดับ 2 แต่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินที่สูงกว่าโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ และสัญญาขายไฟฟ้า 18 และ 55 เมกะวัตต์ ที่ค่า adder หมดไปแล้ว ตลอดจนเนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้าเป็นลักษณะโครงค่าไฟฟ้า TOU ราคาค่าไฟฟ้าช่วง Peak time จะมีราคาที่สูงกว่าช่วง Off Peak ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนการ เดินโรงไฟฟ้าเพื่อให้ได้ รายได้สูงสุดในกรณีที่มีการผลิตปริมาณจำกัด เนื่องมาจากการหยุดซ่อมบำรุงหม้อไอน้ำ และมีความจำเป็นจะต้องลดการจำหน่ายไฟฟ้าในช่วงเวลา Off Peak หากมีผลกระทบจากราคาต้นทุนเชื้อเพลิงถ่านหิน เพื่อให้เกิด Profit Optimum กับบริษัท
- การเพิ่มปริมาณการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากสัญญาการไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าที่ผ่านในปี 2565 เป็นปีที่ Adder เริ่มหมด และมีต้นทุนราคาถ่านหินที่ปรับขึ้นสูงมาก ดังนั้น จึงมีการวางแผนในเรื่องของการซ่อมบำรุงใหญ่ ทำให้ส่งผลถึงปริมาณการผลิตไฟฟ้าและปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้าลดลง ปี 2567 อัตราค่าไฟฟ้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการปรับค่าไฟฟ้าผันแปร FT เพิ่มขึ้น ดังนั้น การวางแผนการผลิตใน ปี 2567 จึงสามารถที่เดินโรงไฟฟ้าให้มีกำลังผลิตที่มากขึ้นได้ เพื่อสร้างผลประกอบการให้เติบโตขึ้นกว่าปี 2565
- การลดต้นทุนการผลิต ซึ่งหมายถึงต้นทุนเชื้อเพลิง ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ต้นทุนการซ่อมบำรุงรักษา ได้มีการจัดวางแผนการดำเนินการเพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการลดต้นทุนการผลิตรวมอย่างน้อยร้อยละ 10 โดย
- การลดต้นเชื้อเพลิง จะดำเนินการเพิ่มสัดส่วนการรับขยะชุมชนและขยะคัดแยกคุณภาพต่ำ มากขึ้น จะทำต้นทุนการรับซื้อวัตถุดิบโดยรวมลดลง
- การใช้เชื้อเพลิงขยะ คุณภาพต่ำ ให้มีสัดส่วนที่สูงขึ้น เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตไอน้ำต่อหน่วยลดลง โดยบริษัท ได้มีการดำเนินการเดินเตาเผาและหม้อไอน้ำแบบ grate ซึ่งสามารถรับขยะที่ไม่คัดแยกและเชื้อขยะที่มีคุณภาพต่ำได้ ทำให้เป็นแนวทางการบริหารจัดการที่สามารถลดต้นทุนเชื้อเพลิงและต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้
- การนำระบบควบคุมการเผาไหม้ ด้วยระบบ หากมีการดำเนินการแล้วเสร็จสามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าโดยคาดว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ในหน่วยการผลิตที่มีการใช้ AI ประมาณ ร้อยละ 5
- การลดการใช้ถ่านหิน ด้วยเชื้อเพลิงทดแทน จาก ขยะ ไม้ และ เชื้อเพลิงหมุนเวียนอื่น ๆ ใน หม้อไอน้ำ 8 ซึ่งสามารถที่จะลดการใช้ถ่านหินลงร้อยละ 10 - 15
- ต้นทุนการซ่อมบำรุง โดยได้มีการวางแผนหยุดซ่อมบำรุงใหญ่ ต่อเนื่อง มากจาก ปี 2565 ทำให้ หม้อไอน้ำต่าง ๆ มีการลงทุนการปรับปรุงใหญ่ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าในระยะยาว และสามารถเพิ่ม Performanceในการผลิตไฟฟ้าให้สูงขึ้น
- โครงการลงทุนเพื่อเพิ่มปริมาณขายไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มูลค่ารวม 13,275 ล้านบาท
บริษัทได้ดำเนินการลงทุน เพื่อขยายกำลังการผลิต และเพื่อขยายและจัดหาสัญญาขายไฟฟ้าเพิ่มเติม จำนวน 6 โครงการ ดังนี้
- โครงการ เปลี่ยนเชื้อเพลิงหม้อไอน้ำ สำหรับโรงไฟฟ้า TG 8 ขนาด 150 เมกะวัตต์
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงงานก่อสร้างและติดตั้ง MSW Boilers 160TPH จำนวน 3 ชุด เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้า TG8 เปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงขยะทดแทนถ่านหินตั้งแต่ปี 2565 และอยู่ระหว่างการติดตั้ง Boiler เพิ่มเติม มีความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 70 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและใช้เชื้อเพลิงขยะแทนถ่านหินได้ครบทั้งหมด ภายในปี 2568 ซึ่งจะทำให้การผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำนวน 440 เมกะวัตต์ เปลี่ยนเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งหมด
- โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm) (เฟส 1 & 2)
สถานที่ก่อสร้าง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยมีกำลังติดตั้งบนพื้นดิน เฟส 1 ขนาด 61.226 เมกะวัตต์ พีค / 52.20 เมกะวัตต์ เอซี และ เฟส 2 ขนาด 11.99 เมกะวัตต์ พีค / 9.6 เมกะวัตต์ เอซี เพื่อขายไฟฟ้าให้แก่โรงปูนซิเมนต์ เพื่อรองรับปริมาณการเพิ่มการใช้ไฟฟ้าที่เป็นพลังงานทดแทน ปัจจุบันอยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง และยื่นขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า ใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้า และใบอนุญาตระบบจำหน่ายไฟฟ้า โดยคาดว่าจะสามารถ SCOD ได้ภายใน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2568
- โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm) (เฟส 3)
สถานที่ก่อสร้าง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งขนาด 11.9925 เมกะวัตต์ พีค / 9.6 เมกะวัตต์ เอซี เพื่อขายไฟฟ้าให้แก่โรงปูนซิเมนต์ เพื่อรองรับปริมาณการเพิ่มการใช้ไฟฟ้าที่เป็นพลังงานทดแทน ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างและยื่นขออนุญาตใบอนุญาตประกอบกิจการโรงการ (รง.4) และคาดว่าจะสามารถ SCOD ได้ภายใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2568
- โครงการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เทศบาลตำบลเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา สามารถกำจัดขยะได้ 500 ตัน ต่อวัน อยู่ระหว่างการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 9.95 เมกะวัตต์ ระยะเวลาซื้อขายไฟฟ้าตามสัญญา 20 ปี เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 7.92 เมกะวัตต์ โดยมีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ( PPA ) กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และได้รับใบอนุญาตก่อสร้างแล้ว อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความคืบหน้าโครงการประมาณร้อยละ 65 คาดว่าจะแล้วเสร็จและจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ประมาณต้นปี 2569
- โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะชุมชน เทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ เข้าประมูลโครงการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เป็นโรงไฟฟ้าระบบปิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ กำลังการขายไฟฟ้า 8 เมกะวัตต์ โดย ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ ได้รับการประกาศเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก มีการลงนามสัญญาโครงการดังกล่าวกับ เทศบาลเมืองมุกดาหาร เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียบร้อยแล้วงานก่อสร้างคืบหน้าได้ประมาณร้อยละ 5 โดยคาดว่าจะสามารถ SCOD ได้ในปี 2569
- เข้าประมูลโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนโดยการแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายสูงสุด 8 เมกะวัตต์ ต่อมา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 บริษัทได้รับแบบแจ้งผลการจัดซื้อจัดจ้างเป็นผู้ได้รับคัดเลือกที่มีคุณสมบัติและข้อเสนอทางด้านเทคนิคถูกต้องครบถ้วน และเป็นผู้ได้รับคะแนนสูงสุดสำหรับโครงการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อผลิตไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น
บริษัทได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน เพื่อหาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้บริษัทสามารถกำจัดจุดด้อยในการดำเนินการธุรกิจ ตลอดจนการหาโอกาสที่จะเพิ่มรายได้และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกำไร โดยมีกำหนดเป้าหมายในหน่วยงานผลิตย่อย การวัดประสิทธิผล การนำเสนอข้อมูลและผลการดำเนินการ สื่อสารให้พนักงานรับทราบข้อมูลและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้เป็นทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นกลไกในการดำเนินการเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายของบริษัท ตลอดจนการมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจตามแผนพัฒนาการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) และการแสวงหาความร่วมมือและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท
ผลการดำเนินงานในปี 2567
ในปี 2567 บริษัทมีการกระจายมูลค่าเศรษฐกิจทางตรงไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ก่อให้เกิดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจสะสมจำนวน 743.94 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายละเอียดทางเศรษฐกิจ |
ล้านบาท* |
(A) มูลค่าเศรษฐกิจทางตรง (Direct Economic Value Generated) |
|
รายได้ (Revenues) |
10,747.32 |
(B) การกระจายมูลค่าเศรษฐกิจทางตรง (Direct Economic Value Distributed) |
|
ต้นทุนการดำเนินงาน (Operating costs) |
6,819.75 |
ค่าจ้างและสวัสดิการพนักงาน (Employee wages and benefits) |
130.19 |
เงินที่ชำระแก่เจ้าของเงินทุน (Payments to providers of capital) |
2,804.82 |
เงินที่ชำระแก่รัฐ (Payments to government) |
197.36 |
การลงทุนในชุมชน (Community investments) |
51.26 |
รวม |
10,003.38 |
(C) มูลค่าเชิงเศรษฐกิจสะสม (Economic value retained) (A-B) |
743.94 |
หมายเหตุ : * จากงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท