การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy - BCG )
เศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy), เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy )
กลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากร ภายใต้การเติบโตของประชากรโลก ขณะที่แหล่งทรัพยากรมีจำกัด และการใช้ทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา นอกเหนือจากการสิ้นเปลืองทรัพยากร ยังรวมถึงการใช้พลังงาน การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน การก่อให้เกิดขยะจากการบริโภค และเป็นภาระให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งรวมถึงผลกระทบจากขยะในทะเล
“ เรากำลังใช้ทรัพยากรธรรมชาติของรุ่นลูกหลาน ” ประโยคดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกลับมาตระหนักถึง การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งการใช้วัตถุดิบ พลังงาน การลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะล้นโลก อันเป็นผลทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน กลุ่มบริษัท ทีพีไอโพลีนเพาเวอร์ จึงได้มุ่งมั่นในการเข้ามามีบทบาทแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้กับโลกของเราภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอนตั้งแต่การวางแผนวิจัยพัฒนา กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ที่ไปยังผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้พลังงานเชื้อเพลิงหมุนเวียน การจัดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของที่เหลือจากกระบวนการผลิต และการจัดการของเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรและความยั่งยืน ในห่วงโซ่อุปทาน กับภาคธุรกิจ สังคม ชุมชน
กลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ได้กำหนดทิศทางการดำเนินการของกลุ่มบริษัททั้งหมดโดยตั้งเป้ามุ่งเข้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการดำเนินการตามทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ( Circular Economy ) เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการหมุนเวียนทรัพยากรหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การดำเนินด้านเศรษฐกิจสีเขียว ( Green Economy) โดยการมีเป้าหมายเพื่อการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในการใช้ทรัพยากร การผลิตผลิตภัณฑ์ ตลอดจนซากของผลิตภัณฑ์ ไปสู่การผลิตแบบคาร์บอนต่ำ ( Low carbon production) โดยมีเป้าหมายเบื้องต้นคือการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน โดยการใช้พลังงานทดแทน เข้ามาในระบบการผลิต นอกจากนี้กลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ยังมุ่งที่จะพัฒนาการผลิตและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท โดยการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการเพิ่มคุณค่า หรือประยุกต์ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสนับสนุนภาคเกษตรกรรมของประเทศ เพื่อให้เกิดเป็นเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy )
การเชื่อมโยงของการดำเนินการทั้งสามส่วน เศรษฐกิจหมุนเวียน ( Circular Economy ) ด้านเศรษฐกิจสีเขียว( Green Economy) และเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy ) ร่วมกันคือ การดำเนินการเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เรียกว่า Bio-Circular-Green Economy ( BCG ) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนกลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ ให้เติบโต ด้วยนวัตกรรม ที่แข่งขันได้ในระดับโลก และทำให้เกิดการกระจายรายได้ สู่ชุมชน ด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
กลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ได้ดำเนินการในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การวิจัยพัฒนา การจัดหาทรัพยากร วัตถุดิบในการผลิตและพลังงานโดยการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า หมุนเวียนกลับมาใช้ให้มากที่สุด การผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งการใช้ทรัพยากรและการรักษาสิ่งแวดล้อม การผลิต และผลิตภัณฑ์สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างโลกสีเขียว โดยครอบคลุมไปถึงการขาย การขนส่ง และ การบริการ โดยกลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ได้ดำเนินการโดยสังเขป ดังนี้
- การวิจัยและพัฒนาสีเขียว ( Green Research and Development )
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้วัตถุดิบทดแทน (Alternative Raw material )
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้วัตถุจากที่เหลือทิ้ง (Recycle Raw material )
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อลดปริมาณการใช้ของผู้บริโภค
- การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พลังงานในการผลิตที่ลดลง
- การผลิตสินค้าเพื่อนำมาใช้ทดแทนการตกแต่งเพื่อความสวยงามแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
- การสร้างนวัตกรรม (Innovation) ของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้งานและเป็นผลิตภัณฑ์สีเขียว
- การจัดหาทรัพยากร วัตถุดิบในการผลิต และ พลังงาน ( Raw materials and Energy Resource)
- การใช้แหล่งวัตถุดิบที่มีผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น
- โดยเลือกวัตถุดิบจากผู้ประกอบการที่มีการใช้วัตถุ recycle เช่นกระดาษที่ใช้ผลิตถุงปูนซิเมนต์ อะไหล่ที่มีการนำเนื้อเหล็กจากชิ้นส่วนเดิมไปหล่อใหม่ เป็นต้น
- การทำบ่อกักเก็บน้ำฝน เพื่อใช้แทนการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
- การใช้วัตถุดิบที่ได้ทุกส่วนมาอย่างคุ้มค่า การใช้ซ้ำ การนำส่วนที่เหลือมาใช้ (Reuse , Recycle) เช่น
- หินปูนจากเหมืองหินจะมีการนำส่วนที่เหลือ หรือมีคุณภาพต่ำจากการทำปูนซิเมนต์ มาผลิตหินก่อสร้าง ทราย ดินก่อสร้าง และวัตถุดิบในการทำปูนมอร์ต้า เป็นต้น โดยใช้หินปูนทุกส่วนโดยไม่มีทิ้ง
- การ recycle น้ำทิ้งจาก หอระบายความร้อน เพื่อทำการปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้นำมาใช้ใหม่แทนการปล่อยทิ้ง
- การนำน้ำมันเครื่อง น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วมาใช้ในการเป็นเชื้อเพลิง
- การใช้วัตถุดิบทดแทนที่มาจากของเสีย ของเหลือจาก การผลิต ( Waste Recycle) เช่น
- การใช้เถ้าหนัก ( Bottom Ash) จากโรงไฟฟ้า เป็นวัตถุดิบทดแทน วัตถุดิบในการผลิตปูนซิเมนต์
- การใช้เถ้าเบา (Fly ash) จากโรงไฟฟ้า เป็นวัตถุดิบทดแทนในปูนซิเมนต์
- การ recycle bottom ash ในโรงไฟฟ้า เพื่อใช้แทนทรายในการเติมระดับ Bed
- การใช้วัตถุดิบที่เป็นวัตถุดิบทดแทน (Renewable Alternative Raw material)
- การใช้หินปูนที่เหลือจากโรงงานหินก่อสร้างแทนการใช้ทรายแม่น้ำในโรงไฟฟ้า
- การใช้ฝุ่นหินปูนในการทดแทนการใช้ปูนเม็ดในการผลิตปูนซิเมนต์
- การใช้น้ำจากขยะในโรงงานผลิตเชื้อเพลิง RDF ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
- การใช้เชื้อเพลิงทดแทน (Renewable Fuels)
- การนำขยะชุมชนมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงทดแทน RDF สำหรับโรงไฟฟ้าและโรงงานปูนซิเมนต์
- การนำน้ำมันหล่อลื่น ยางรถยนต์ หรือ เศษวัสดุ ที่เกิดในจากกระบวนการในโรงงานที่ให้ความร้อนนำมาเป็นเชื้อเพลิง
- การใช้พลังงานทดแทน ( Renewable Energy)
- การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน หรือ โรงไฟฟ้า RDF
- การผลิตน้ำมันจากยางรถยนต์ จากโรงงาน Pyrolysis
- การใช้พลังงานความร้อนทิ้งกลับมาใช้งาน ( Heat Recovery )
- นำความร้อนทิ้งจากกระบวนผลิตมาใช้ซ้ำในการอุ่นวัตถุดิบ ใน หม้อบดวัตถุดิบ และ หม้อบดถ่านหิน
- นำความร้อนทิ้งจากกระบวนการผลิตในการผลิตไอน้ำเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าและการผลิตอิฐมวลเบา
- การผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงและผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่ำ(High Efficiency and Low emission Process )
- การใช้กระบวนการผลิตและเครื่องจักรการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง
- การใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานสูง เช่น invertor
- การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร clinker cooler ในการผลิตปูนเม็ดเพื่อลดการใช้พลังงาน
- การออกแบบปล่องโรงงานด้วยการใช้ Vertex design เพื่อลดการใช้พลังงาน
- การใช้สายพานขนหินลงจากเหมือง และสามารถผลิตไฟฟ้าป้อนกลับ แทนการใช้รถบรรทุก
- การใช้ Mobile Crusher เพื่อลดการขนส่งหิน
- การดำเนินการโครงการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ
- การใช้ระบบควบคุมการผลิตที่เป็นระบบ Process Automation เพื่อความแม่นยำในกระบวนการผลิต
- ใช้ระบบ Process Automation ในการควบคุมการผลิตจากห้องควบคุมกลาง
- มีโปรแกรมการควบคุมระบบการเผาไหม้ การลดการใช้เชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้าและให้ได้ปูนเม็ดคุณภาพสูง
- การนำ IOT และ Data technology เพื่อใช้ในการจัดการข้อมูลการผลิต และการประมวลผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
- การควบคุมและการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการผลิต
- ติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ปล่อยจากปล่องโรงงาน แบบการวัดต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring ;CEM)
- การติดตั้งเครื่องดักฝุ่นแบบถุงกรอง และ แบบไฟฟ้าสถิต
- การติดตั้งเครื่องล้างล้อรถบรรทุกในการขนส่งต่างๆในโรงงาน รวมถึงของลูกค้า
- การทำหลังคาคลุม ในการจัดเก็บวัตถุดิบ และถ่านหิน เพื่อควบคุมการฟุ้งกระจาย
- การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ หรือ หุ่นยนต์ ในการผลิต
- การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติในการจัดเก็บตัวอย่างวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งวิเคราะห์คุณภาพ เพื่อควบคุมการผลิต
- การใช้หุ่นยนต์ในการทำงาน เช่นการบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์
- การใช้หุ่นยนต์ในการเชื่อม และการซ่อมบำรุง
- ผลิตภัณฑ์สีเขียว ( Green Products )
- ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ จากทั้งในประเทศและนานาชาติ
- ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง สามารถลดปริมาณการใช้เพื่อคงคุณภาพงาน
- ผลิตภัณฑ์ ที่สะดวกต่อการขนส่ง จัดเก็บ และใช้งาน
- ผลิตภัณฑ์ ที่ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
- ผลิตภัณฑ์ที่สามารถประหยัดพลังงานในการใช้งานจริง
- ผลิตภัณฑ์ที่สามารถกำจัดซากได้ ไม่มีสารอันตรายปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
- การขาย การขนส่ง และ การบริการ
- การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ในการขนส่งสินค้า
- การใช้ระบบ Process Automation ในการขนถ่ายสินค้า
- การส่งเสริมการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
- การใช้ Digital Platform ในการขาย การจัดส่งสินค้า
- การให้บริการลูกค้าในการใช้งานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- การนำบรรจุภัณฑ์ภายหลังจากการใช้งานมาใช้ประโยชน์หมุนเวียน