คณะกรรมการชุดย่อย ประกอบด้วย
คณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท มีจำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย
รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ |
ตำแหน่ง |
1. นายมนู เลียวไพโรจน์ |
ประธานกรรมการตรวจสอบ |
2. ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ |
กรรมการตรวจสอบ |
3. นายอร่าม เสนามนตรี |
กรรมการตรวจสอบ |
4. นายไพศาล คัจฉสุวรรณมณี |
กรรมการตรวจสอบ |
โดยมีนายคัณชิต ยิ้มกริ่ม เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
ทั้งนี้ ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านบัญชีและการเงินเพียงพอที่จะทำหน้าที่สอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินของบริษัท โดย ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเคมี จาก West Virginia University และปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก West Virginia University
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่รับผิดชอบการสอบทานรายงานทางการเงินของบริษัท ความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจัดทำรายงาน หรือให้ความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อขออนุมัติ หรือเพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี ดังนี้
- สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง และเพียงพอ
- สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน และ/หรือ การว่าจ้างบริษัทตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
- สอบทานให้บริษัท ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของบริษัท
- พิจารณา คัดเลือก และเสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าวต่อคณะกรรมการเพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- พิจารณารายการเกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศคณะกรรมการตลาดทุน และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
- จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
- ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท
- ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนด ของ ตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของบริษัท
- ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
- ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
- ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter)
- รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
- ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำดังต่อไปนี้ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร
(1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(2) การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
(3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
หากคณะกรรมการบริษัท หรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาข้างต้น กรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งอาจรายงานว่ามีรายการ หรือการกระทำตามข้างต้นต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ
ทบทวนข้อบังคับ และผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมาอย่างน้อยปีละหนึ่ง (1) ครั้ง
คณะจัดการ
คณะจัดการของบริษัท มีจำนวน 10 ท่าน ประกอบด้วย
รายชื่อคณะจัดการ |
ตำแหน่ง |
1. นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ |
ประธานคณะจัดการ |
2. นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ * |
รองประธานคณะจัดการ |
3. ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานคณะจัดการ |
4. นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานคณะจัดการ |
5. นายประหยัด เลี่ยวไพรัตน์ |
สมาชิกคณะจัดการ |
6. นางสาวภัทรพรรณ เลี่ยวไพรัตน์ |
สมาชิกคณะจัดการ |
7. นายภากร เลี่ยวไพรัตน์ |
สมาชิกคณะจัดการ |
8. นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ |
สมาชิกคณะจัดการ |
9. นางณิธาวัน เลี่ยวไพรัตน์ |
สมาชิกคณะจัดการ |
10. ดร. ปรกฤษฏ์ เลี่ยวไพรัตน์ |
สมาชิกคณะจัดการ |
อำนาจหน้าที่ของคณะจัดการ
คณะจัดการได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
- บริหารและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ เป้าหมายและแผนการดำเนินงาน เป้าหมายทางการเงิน และงบประมาณของบริษัท โดยพิจารณาถึงปัจจัยทางธุรกิจอย่างเหมาะสม เพื่อนำเสนอและขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท และในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลง คณะจัดการจะพิจารณาทบทวนการใช้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ รวมทั้งดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัท
- ติดตามผลการดำเนินงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบาย กลยุทธ์ทางธุรกิจ เป้าหมายและแผนการดำเนินงาน เป้าหมายทางการเงิน และงบประมาณของบริษัท ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเอื้อต่อสภาพธุรกิจ พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำ การบริหารจัดการแก่ผู้บริหารระดับสูง
- พิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง โดยคณะจัดการจะเป็นผู้พิจารณาเบื้องต้นในการกลั่นกรองสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เหมาะสม มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการของบริษัท ก่อนเสนอให้คณะกรรมการบริษัท พิจารณาอนุมัติ กำหนดโครงสร้างองค์กรและนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการบริษัทพิจารณาและติดตามแผนงานการสร้างผู้บริหารทดแทน รวมถึงแผนงานด้านกำลังคนและการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทน และหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของผู้บริหาร
- แต่งตั้งและถอดถอนพนักงาน ตลอดจนกำหนดจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงาน
- พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะหรือความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัท เกี่ยวกับโครงการข้อเสนอหรือการเข้าทำธุรกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงพิจารณาทางเลือกในการระดมทุน เมื่อมีความจำเป็น และเกินกว่าวงเงินที่ได้กำหนดไว้และ/หรือที่กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องหรือข้อบังคับบริษัท กำหนดให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นและ/หรือคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
- ดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั่วไปของบริษัท รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบใดๆ ตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
- แต่งตั้ง และ/หรือ มอบหมายให้สมาชิกคณะจัดการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคน กระทำการใดๆ ที่อยู่ภายในขอบอำนาจของคณะจัดการ ตามที่คณะจัดการเห็นสมควร ตลอดจนตารางกำหนดอำนาจอนุมัติ (Table of Authority) ที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด โดยที่คณะจัดการอาจยกเลิกเพิกถอน หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจดังกล่าวได้ภายในขอบอำนาจของคณะจัดการ
คณะกรรมการสรรหา
คณะกรรมการสรรหาของบริษัท มีจำนวน 18 ท่าน ประกอบด้วย
รายชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ |
ประธานกรรมการ |
2. นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
3. ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
4. นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
5. นายประหยัด เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
6. นางสาวภัทรพรรณ เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
7. นายภากร เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
8. นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
9. นางณิธาวัน เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
10. นางสาวมาลินี เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
11. ดร.ปรกฤษฏ์ เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
12. นาย ธนากร เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
13. นายมนู เลียวไพโรจน์ |
กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ |
14. ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
15. นายอร่าม เสนามนตรี |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
16. นาย ไพศาล คัจฉสุวรรณมณี |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
17. นายขันธ์ชัย วิจักขณะ |
กรรมการอิสระ |
18. นายวันชัย มโนสุทธิ |
กรรมการอิสระ |
หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหา
- กำหนดวิธีการและหลักเกณฑ์การสรรหากรรมการบริษัทเพื่อให้เกิดความโปร่งใส
- คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการใหม่ เมื่อมีตำแหน่งว่างลง (จากการลาออก หรือครบวาระ) เพื่อเสนอ/พิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการ และ/หรือเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อดำเนินการแต่งตั้ง โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของคณะกรรมการความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท ตามองค์ประกอบ ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)รวมทั้งไม่มีกรณีผลประโยชน์ขัดแย้งกับบริษัท อีกทั้งคุณสมบัติของกรรมการที่ต้องการสรรหาต้องให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท
- พิจารณาเสนอชื่อกรรมการ เพื่อทำหน้าที่กรรมการเฉพาะเรื่อง โดยพิจารณาตามองค์ประกอบของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง คุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของกรรมการ ที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการเฉพาะเรื่อง และนำเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาแต่งตั้ง
- คณะกรรมการสรรหาควรประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- เลขานุการบริษัทปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหา
คณะกรรมการค่าตอบแทน
คณะกรรมการค่าตอบแทนของบริษัท มีจำนวน 18 ท่าน ประกอบด้วย
รายชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ |
ประธานกรรมการ |
2. นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
3. ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
4. นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
5. นายประหยัด เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
6. นางสาวภัทรพรรณ เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
7. นายภากร เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
8. นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
9. นางณิธาวัน เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
10. นางสาวมาลินี เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
11. ดร.ปรกฤษฏ์ เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
12. นาย ธนากร เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
13. นายมนู เลียวไพโรจน์ |
กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ |
14. ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
15. นายอร่าม เสนามนตรี |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
16. นาย ไพศาล คัจฉสุวรรณมณี |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
17. นายขันธ์ชัย วิจักขณะ |
กรรมการอิสระ |
18. นายวันชัย มโนสุทธิ |
กรรมการอิสระ |
หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
- กำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการกำหนดค่าตอบแทน รวมทั้งพิจารณาเสนอค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล สำหรับกรรมการและกรรมการเฉพาะเรื่อง ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ และที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- พิจารณาเสนอแนวทางการประเมินผลและค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหาร เพื่อพิจารณาอนุมัติ
- รับทราบและให้ข้อเสนอแนะเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กรและระดับงาน รวมทั้งการประเมินผลและพิจารณาค่าตอบแทนผู้บริหาร
- มีความรับผิดตามบทบาทหน้าที่และคณะกรรมการ มีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
- เปิดเผยรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนไว้ในรายงานประจำปี
- คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนควรประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- เลขานุการบริษัทปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการค่าตอบแทน
คณะกรรมการบรรษัทภิบาล
คณะกรรมการบรรษัทภิบาล ของบริษัท มีจำนวน 18 ท่าน ประกอบด้วย
รายชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ |
ประธานกรรมการ |
2. นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
3. ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
4. นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
5. นายประหยัด เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
6. นางสาวภัทรพรรณ เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
7. นายภากร เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
8. นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
9. นางณิธาวัน เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
10. นางสาวมาลินี เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
11. ดร.ปรกฤษฏ์ เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
12. นาย ธนากร เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
13. นายมนู เลียวไพโรจน์ |
กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ |
14. ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
15. นายอร่าม เสนามนตรี |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
16. นาย ไพศาล คัจฉสุวรรณมณี |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
17. นายขันธ์ชัย วิจักขณะ |
กรรมการอิสระ |
18. นายวันชัย มโนสุทธิ |
กรรมการอิสระ |
ขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ
- กำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อการมีธรรมาภิบาลที่ดีและเพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
- พิจารณาให้ความเห็น ให้ข้อเสนอแนะ และทบทวนนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น รวมถึงนโยบายและแนวปฏิบัติอื่นใดที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทบนหลักบรรษัทภิบาลให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานด้านการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และนโยบายหรือแนวปฏิบัติอื่นใด ที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทตามแนวธรรมาภิบาล ให้เหมาะสมกับธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย
- ดูแลให้ฝ่ายจัดการนำนโยบายแนวปฏิบัติต่าง ๆ ไปใช้พัฒนาบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ทั้งนี้แนวปฏิบัติดังกล่าวต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับธุรกิจของบริษัทข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่กำกับดูแล หรือ เกี่ยวข้องและเทียบเคียงได้กับมาตรฐานสากล
- ติดตามและทบทวน แนวปฏิบัติและระบบงานต่าง ๆ ภายในองค์กร ให้สอดคล้องกับนโยบาการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ และแนวปฏิบัติที่ดีตามที่ได้กำหนดไว้ และดูแลให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
- ติดตามและสั่งการ กรณีที่การปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการและพนักงานมีประเด็นเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติที่วางไว้
- ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการ รวมถึงบริษัทย่อย ตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ และนโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทและบริษัทย่อย และประมวลผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการประจำปี นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทของปีถัดไป พร้อมทั้งนำเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะที่จำเป็น
- รายงานผลการปฏิบัติงานขององค์กร สนับสนุนการมีส่วนร่วม พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการสื่อสารให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตระหนักและเข้าใจถึงนโยบาย และแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมธุรกิจ และข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
- ขอความเห็นทาวิชาชีพจากบุคคลหรือองค์กรภายนอก เพื่อให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำที่เป็นอิสระเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้แก่คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งการว่าจ้างบุคคลภายนอกเฉพาะคราว เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการบรรษัทภิบาล เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลาที่กำหนด และการว่าจ้างดังกล่าวจะเป็นผลดีแก่บริษัท
- รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการบริษัท และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น
- ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลประจำปี และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริษัท
- ปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และปฏิบัติการใด ๆ ตามที่กำหนดโดยกฎหมายหรือข้อกำหนดของหน่วยงานราชการ
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ของบริษัท มีจำนวน 18 ท่าน ประกอบด้วย
รายชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ |
ประธานกรรมการ |
2. นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
3. ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
4. นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ |
รองประธานกรรมการ |
5. นายประหยัด เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
6. นางสาวภัทรพรรณ เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
7. นายภากร เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
8. นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
9. นางณิธาวัน เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
10. นางสาวมาลินี เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
11. ดร.ปรกฤษฏ์ เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
12. นาย ธนากร เลี่ยวไพรัตน์ |
กรรมการ |
13. นายมนู เลียวไพโรจน์ |
กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ |
14. ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
15. นายอร่าม เสนามนตรี |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
16. นาย ไพศาล คัจฉสุวรรณมณี |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ |
17. นายขันธ์ชัย วิจักขณะ |
กรรมการอิสระ |
18. นายวันชัย มโนสุทธิ |
กรรมการอิสระ |
ขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ
- พิจารณาสอบทาน และนำเสนอนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง ให้แก่คณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณา อนุมัติ
- พิจารณาสอบทานและให้ความเห็นชอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อ รับทราบ
- กำกับดูแลกิจการการพัฒนาและการปฏิบัติตามนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มบริษัท มี ระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรและมีการปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
- สอบทานรายงานการบริหารความเสี่ยง เพื่อติดตามความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญ และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า องค์กรมีการจัดการความเสี่ยงอย่างเพียงพอและเหมาะสม
- ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับความเสี่ยงที่สำคัญ และมีหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นผู้สอบทานเพื่อให้มั่นใจว่า บริษัท มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมต่อการจัดการความเสี่ยง รวมทั้งการนำระบบการบริหารความเสี่ยงมาปรับใช้อย่างเหมาะสมและมีการปฏิบัติตามทั่วทั้งองค์กร
- รายงานคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับความเสี่ยงและและการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ
- ให้คำแนะนำและคำปรึกษากับคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง (Sub Risk-Management Committee : SRM) และ/หรือหน่วยงาน และ/หรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง
- พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการและ/หรือบุคลากรเพิ่มเติมหรือทดแทนในคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง และ/หรือหน่วยงาน และ/หรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงตามความเหมาะสม รวมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
- ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
- ประเมินความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืน
คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืน ของบริษัท ประกอบด้วย
เลขที่ |
ชื่อ – สกุล |
ตำแหน่ง |
การเข้าร่วมประชุม* |
|
1 |
นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ |
ประธานคณะกรรมการความยั่งยืน |
1/1 |
|
2 |
คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืน (ชุดสำนักงานใหญ่) |
รายชื่อกรรมการตามโครงสร้าง |
1/1 |
|
3 |
คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืน (ชุดโรงงานสระบุรี) |
รายชื่อกรรมการตามโครงสร้าง |
1/1 |
คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืน
ขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ
- กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ กรอบดำเนินงาน แนวทางดำเนินกลยุทธ์ และพิจารณาคัดเลือกประเด็นที่ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร รวมถึงกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เสนอต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- กำกับดูแล ทบทวน ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการ และประเมินประสิทธิผลของการดำเนินการตามนโยบายพัฒนาความยั่งยืน
- ส่งเสริมให้นำไปสู่การปฏิบัติ และสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
- ให้คำปรึกษา ส่งเสริม สนับสนุนทรัพยากรและบุคลากรที่เหมาะสม เพื่อให้มีการดำเนินกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นทั่วองค์กรและสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- ประธานคณะกรรมการฯ มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแต่ละด้านให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับประเด็นสำคัญขององค์กร
- รายงานผลการดำเนินงานการจัดทำรายงานความยั่งยืนต่อผู้บริหารระดับสูง
- กำกับดูแลการดำเนินการตามกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ