การบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน(403-4)
บริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน ประกอบด้วย ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพของบริษัท ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO45001 และกฎหมายด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง
พร้อมทั้งได้จัดตั้งฝ่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ในการประสานงานและติดตามการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโรงงานทุกแห่งให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นโยบาย แผนงาน และเป้าหมายที่บริษัท กำหนด รวมถึงการประเมินและการบริหารจัดการความเสี่ยง การจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมรับทราบอย่างสม่ำเสมอ
ตลอดจนการแต่งตั้งคณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานในแต่ละโรงงาน ซึ่งเป็นตามกฎกระทรวงบริหารการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน พ.ศ. 2549 ประกอบด้วยผู้แทนจากพนักงานระดับปฏิบัติการไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของคณะกรรมการทั้งหมด โดยตัวแทนพนักงานระดับปฏิบัติการมาจากการเลือกตั้งแยกตามสายงานเพื่อให้มีตัวแทนพนักงานจากทุกสายงาน ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยมีบทบาทหน้าที่ในการรับข้อมูลจากพนักงานแต่ละสายงานผ่านตัวแทน และแจ้งข่าวสาร พร้อมติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานและแผนการดำเนินงานในอนาคต รวมทั้งการพัฒนา ปรับปรุง ส่งเสริม และสร้างองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดการปลูกฝังวัฒนธรรม และการพัฒนาทักษะความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำหรับพนักงาน ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่โรงงาน เช่น การอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน การจัดกิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม การอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน การซ้อมดับเพลิงและการอพยพเบื้องต้น การอบรมความรู้ในการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น CPR & AED การเข้าร่วมกับเครือข่ายด้านความปลอดภัยในการรณรงค์และจัดกิจกรรมด้านความปลอดภัย เป็นต้น
การบริการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และการส่งเสริมสุขภาพของพนักงาน(403-3, 403-6)
บริษัทได้กำหนดให้มีการบริการที่ส่งเสริมวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยภายในองค์กร ที่ครอบคลุมการให้บริการ และการส่งเสริมสุขภาพที่ดีในสถานที่ปฏิบัติงาน อาทิ
- ห้องพยาบาลภายในสถานที่ปฏิบัติงาน โดยมีแพทย์ และพยาบาลประจำเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การปฐมพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บแก่พนักงานและผู้รับเหมา
- การตรวจสุขภาพพนักงานตั้งแต่เริ่มเข้าทำงาน โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงที่ต้องปฏิบัติงาน ได้แก่ การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน และการตรวจสมรรถภาพปอด การตรวจคลื่นหัวใจ (EKG) กรณีทำงานในที่อับอากาศ
- การตรวจสุขภาพประจำปี ทั้งการตรวจสุขภาพทั่วไปและตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย โดยมีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และนักอาชีวอนามัยของบริษัท ร่วมกันกำหนดรายการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานจากปัจจัยภายใน และภายนอกสถานที่ทำงาน หากพนักงานมีผลตรวจสุขภาพผิดปกติจะต้องเข้าพบแพทย์และรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การกำหนดรายการตรวจเพิ่มเติมตามความเสี่ยงของกลุ่มอายุ เช่น การตรวจไขมันในเลือด (Total Cholesterol ,LDL ,HDL ,ไตรกลีเซอไรด์) ในโปรแกรมการตรวจสุขภาพพนักงาน เพื่อให้ครอบคลุมโรคที่อาจจะเกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวัน และเพื่อให้พนักงานเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง
- กำหนดสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล (OPD) ให้กับพนักงาน บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- กำหนดสวัสดิการเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ สำหรับกรณีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เช่น การตรวจ และการรักษาพยาบาลเบื้องต้น การรักษาในกรณีเหตุฉุกเฉินที่ห้องพยาบาลของบริษัท ให้แก่พนักงานและผู้รับเหมาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งบริการตรวจสุขภาพประจำปี การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และวัคซีนโควิดกับพนักงาน
การอบรมพนักงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(403-5)
บริษัทได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยป้องกันและระงับอัคคีภัยที่จำเป็นสำหรับพนักงานและผู้รับเหมาที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ประเภทของงานที่ต้องปฏิบัติ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในสิ่งที่อาจเป็นอันตรายและก่อให้เกิดอุบัติเหตุ วิธีการป้องกัน และควบคุมอันตรายในขณะปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยความปลอดภัย โดยกำหนดให้มีการประเมินผล บันทึก และจัดเก็บประวัติการฝึกอบรม
หัวข้อหลักสูตรอบรม |
จำนวนผู้อบรม (คน) |
||
|
ผู้รับเหมา |
พนักงาน |
รวม |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างใหม่ |
53 |
11 |
64 |
โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม |
0 |
11 |
11 |
การดับเพลิงขั้นต้น |
0 |
11 |
11 |
ทบทวนการทำงานในที่อับอากาศ |
0 |
221 |
221 |
การอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น |
0 |
80 |
80 |
ความปลอดภัยในกาทำงานเกี่ยวกับรังสี |
0 |
10 |
10 |
ประเด็นความเสี่ยงและเทคนิคการทำงานให้ปลอดภัย |
53 |
11 |
64 |
ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม |
53 |
11 |
64 |
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
พนักงานและผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติงานในบริษัทมีความเข้าใจในเนื้อหาตามหลักสูตรด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการทำงานของตนเอง โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน ทั้งสามารถจัดการกับความเสี่ยงนั้นๆ ได้ สามารถรับมือกับสภาวะฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อลดความรุนแรงของผลกระทบต่อบุคคล ทรัพย์สิน การผลิต และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้แต่ละหน่วยงานมีความพร้อมในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปี 2566 นี้บริษัทมีผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2565 โดยมีอัตราความถี่ของการบาดเจ็บ (Injury Frequency Rate: IFR) ต่อล้านชั่วโมงการทำงานในปี 2566 เท่ากับ 1.31 ซึ่งลดลง 0.46 เมื่อเทียบกับปี 2565 มีจำนวนชั่วโมงทำงานที่ไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานคิดเป็น 1,700,016 ชั่วโมง เพิ่มขึ้น 34,071 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับปี 2565 และอัตราการเจ็บป่วยและโรคจากการทำงานที่ต้องการบันทึกทั้งหมดของพนักงานและผู้รับเหมาเท่ากับ 0 ราย อีกทั้งการจัดอบรมให้ผู้รับเหมาดังกล่าวยังถือเป็นการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาการดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างยั่งยืนกับคู่ค้าด้วย
การเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน(403-7)
บริษัทได้จัดให้มีแผนงานการตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน โดยโรงงานทุกแห่งจะมีการจัดทำแผนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ซึ่งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ตลอดจนการกำหนดให้มีการซ้อมแผนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเป็นประจำทุกปี เช่น กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ สารเคมีรั่วไหล หม้อไอน้ำระเบิด เป็นต้น ทั้งนี้ให้มีการประเมินและการซ้อมแผนฉุกเฉินดังกล่าว เพื่อนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ประกอบกับบริษัทได้จัดให้มีการอบรมเพื่อเติมความรู้ความชำนาญให้กับพนักงานที่มีหน้าที่ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เช่น การอบรมการผจญเพลิงขั้นสูง การระงับเหตุสารเคมีรั่วไหล การอบรมด้านการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น
ผลการดำเนินงาน
บริษัทได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการวัดผล และประเมินการทำงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยพิจารณาจากอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน จำนวนชั่วโมงการทำงานที่ปลอดภัย อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นเสียชีวิต และจำนวนการเจ็บป่วยหรือโรคจากการทำงาน โดยมีผลการดำเนินงานในปี 2565 ดังนี้
ตาราง ข้อมูลพนักงานและลูกจ้างที่อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัท(403-8)
|
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
พนักงาน และลูกจ้างสถานประกอบการที่ถูกควบคุม หรือดูแลโดยองค์กร |
||
พนักงาน |
993 |
100 |
ลูกจ้าง |
84 |
100 |
พนักงาน และลูกจ้างสถานประกอบการที่ถูกควบคุม หรือดูแลโดยองค์กร (และได้รับการตรวจสอบโดยองค์กร) |
||
พนักงาน |
353 |
35.55 |
ลูกจ้าง |
35 |
41.67 |
พนักงาน และลูกจ้างสถานประกอบการที่ถูกควบคุม หรือดูแลโดยองค์กร (และได้รับการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก) |
||
พนักงาน |
103 |
10.38 |
ลูกจ้าง |
23 |
27.38 |
หมายเหตุ : พนักงาน หมายถึงบุคลากรของบริษัท ฯ
ลูกจ้าง หมายถึง บุคลากรของสถานประกอบการอื่นที่ถูกควบคุม หรือ ดูแลโดยบริษัท ภายใต้
มาตรฐาน ISO45001
ตาราง ข้อมูลการบาดเจ็บ และปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (403-9, 403-10)
ผลการดำเนิน |
2564 |
2565 |
2566 |
อัตราการเสียชีวิต |
0 |
0 |
0 |
อัตราของการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับงานที่มีผลกระทบสูง |
0 |
0 |
0 |
อัตราความถี่ของการบาดเจ็บ (IFR) ของพนักงาน (จำนวนครั้งต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) |
1.79 |
1.77 |
1.31 |
อัตราความถี่ของการบาดเจ็บ (IFR) ของผู้รับเหมา (จำนวนครั้งต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) |
0 |
0 |
0 |
อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) ของพนักงาน (จำนวนครั้งต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) |
1.79 |
1.77 |
1.31 |
อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) ของผู้รับเหมา (จำนวนครั้งต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) |
0 |
0 |
0 |
อัตราการเจ็บป่วยจากโรคจากการทำงาน |
0 |
0 |
0 |
ชั่วโมงทำงานที่ไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน |
1,624,536 |
1,665,945 |
1,700,016 |
จำนวนเหตุฉุกเฉินระดับ 3 (เพลิงไหม้ สารเคมีหกรั่วไหล ระเบิด และอาคารพังทลาย) |
0 |
0 |
0 |