ผลการดำเนินงานเชิงเศรษฐกิจ(3-3) และผลกระทบทางอ้อมเชิงเศรษฐกิจ
(Economic Performance & Indirect Economic Impacts)
การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจผ่านแบบจำลองธุรกิจการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือเป็นกุญแจสำคัญต่อการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างบริษัท และสังคมให้สามารถเจริญเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ อนึ่งการสร้างความมั่นคงทางพลังงานผ่านการส่งเสริมธุรกิจไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเสริมความมั่นคงสาธารณูปโภคของประเทศในระยะยาวอันมีส่วนต่อการสร้างสรรค์เศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยในปี 2566 บริษัทได้มีการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญ อาทิ กลยุทธ์ในการเพิ่มรายได้ การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเพื่อเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงสุด และเพิ่มปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้า การลดต้นทุนการผลิต และการเติบโตโดยการขยายการลงทุน เพื่อสร้างผลประกอบการที่ดีของบริษัท อันนำมาซึ่งการกระจายรายได้ และผลประโยชน์ไปยังผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่มของบริษัท
แนวการบริหารจัดการ
- การบริหารสัญญาขายไฟฟ้า สำหรับ โรงไฟฟ้าที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในปัจจุบันเนื่องจากสัญญาขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในปัจจุบัน จำนวน 3 สัญญาและ จำหน่ายให้กับโรงงานปูนซิเมนต์ มีราคาจำหน่ายไฟฟ้าในแต่ละสัญญาแตกต่างกัน เช่น ราคาขายไฟฟ้าต่อหน่วย สำหรับโครงการ 90 เมกะวัตต์ มีค่า adder รวมอยู่กับค่าไฟฟ้าฐานอยู่ ดังนั้นจึงมีการวางแผนในการจัดการเดินเพื่อจำหน่ายไฟฟ้า ให้เต็มสัญญาในส่วนนี้ ส่วนที่ 2 คือ สัญญาขายไฟฟ้าในกับโรงงานปูนซิเมนต์ จะมีอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงเป็นลำดับ 2 แต่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหิน ที่สูงกว่า โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ และสัญญาขายไฟฟ้า 18 และ 55 เมกะวัตต์ ที่ค่า adder หมดไปแล้ว ตลอดจนเนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้าเป็นลักษณะโครงค่าไฟฟ้า TOU ราคาค่าไฟฟ้าช่วง Peak time จะมี ราคาที่สูงกว่า ช่วง Off Peak ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนการ เดินโรงไฟฟ้าเพื่อให้ได้ รายได้สูงสุดในกรณีที่มีการผลิตปริมาณจำกัด เนื่องมาจากการหยุดซ่อมบำรุงหม้อไอน้ำ และมีความจำเป็นจะต้องลดการจำหน่ายไฟฟ้าในช่วงเวลา Off Peak หากมีผลกระทบจากราคาต้นทุนเชื้อเพลิง ถ่านหิน เพื่อให้เกิด Profit Optimum กับบริษัท
- การเพิ่มปริมาณการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า มากขึ้น เนื่องจากสัญญาการไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าที่ผ่านในปี 2565 เป็นปีที่ Adder เริ่มหมด และมีต้นทุนราคาถ่านหินที่ปรับขึ้นสูงมากก ดังนั้นจึงมีการวางแผนในเรื่องของการซ่อมบำรุงใหญ่ ทำให้ส่งผลถึงปริมาณการผลิตไฟฟ้าและปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้าลดลง ปี 2566 อัตราค่าไฟฟ้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการปรับค่าไฟฟ้าผันแปร FT เพิ่มขึ้น ดังนั้น การวางแผนการผลิตใน ปี 2566 จึงสามารถที่เดินโรงไฟฟ้าให้มีกำลังผลิตที่มากขึ้นได้ เพื่อสร้างผลประกอบการให้เติบโตขึ้นกว่าปี 2565
- การลดต้นทุนการผลิต ซึ่งหมายถึง ต้นทุนเชื้อเพลิง ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ต้นทุนการซ่อมบำรุงรักษา ได้มีการจัดวางแผนการดำเนินการเพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการลดต้นทุนการผลิตรวมอย่างน้อยร้อยละ 10 โดย
- การลดต้นเชื้อเพลิง จะดำเนินการเพิ่มสัดส่วนการรับขยะชุมชนและขยะคัดแยกคุณภาพต่ำ มากขึ้น จะทำต้นทุนการรับซื้อวัตถุดิบโดยรวมลดลง
- การใช้เชื้อเพลิงขยะ คุณภาพต่ำ ให้มีสัดส่วนที่สูงขึ้น เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตไอน้ำต่อหน่วยลดลง โดยบริษัท ได้มีการดำเนินการเดินเตาเผาและหม้อไอน้ำแบบ grate ซึ่งสามารถรับขยะที่ไม่คัดแยกและเชื้อขยะที่มีคุณภาพต่ำได้ ทำให้เป็นแนวทางการบริหารจัดการที่สามารถลดต้นทุนเชื้อเพลิงและต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้
- การนำระบบควบคุมการเผาไหม้ ด้วยระบบ หากมีการดำเนินการแล้วเสร็จสามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าโดยคาดว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ในหน่วยการผลิตที่มีการใช้ AI ประมาณ ร้อยละ 5
- การใช้เชื้อขยะเข้าทดแทนการใช้ถ่านหิน ได้มีการดำเนินการโครงการสำหรับหม้อไอน้ำที่มีการใช้ถ่านหิน โดยสามารถเปลี่ยนหม้อไอน้ำ 6 โดยสามารถยกเลิกการใช้ถ่านหินโดยใช้เชื้อขยะได้ทั้งหมด ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จต้นปี 2566
- การลดการใช้ถ่านหิน ด้วยเชื้อเพลิงทดแทน จาก ขยะ ไม้ และ เชื้อเพลิงหมุนเวียนอื่น ๆ ใน หม้อไอน้ำ 8 ซึ่งสามารถที่จะลดการใช้ถ่านหินลงร้อยละ 10 - 15
- ต้นทุนการซ่อมบำรุง โดยได้มีการวางแผนหยุดซ่อมบำรุงใหญ่ ต่อเนื่อง มากจาก ปี 2565 ทำให้ หม้อไอน้ำต่าง ๆมีการลงทุนการปรับปรุงใหญ่ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าในระยะยาว และสามารถเพิ่ม Performanceในการผลิตไฟฟ้าให้สูงขึ้น
- โครงการลงทุนเพื่อเพิ่มปริมาณขายไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มูลค่ารวม 15,476.44 ล้านบาท
บริษัทได้ดำเนินการลงทุน เพื่อขยายกำลังการผลิต และเพื่อขยายและจัดหาสัญญาขายไฟฟ้าเพิ่มเติม โดยได้ดำเนินการดังนี้
- โครงการเปลี่ยนเชื้อเพลิงหม้อไอน้ำ B6 สำหรับผลิตไอน้ำให้โรงไฟฟ้า
เพื่อปรับปรุง Boiler ของโรงไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงขยะทดแทน 100% ตามนโยบายในการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แล้วเสร็จ ในปี 2566 บริษัทได้เริ่มดำเนินการผลิตไอน้ำจากหม้อไอน้ำ B6 โดยใช้เชื้อเพลิงขยะเต็มรูปแบบ และยกเลิกการใช้ถ่านหินทั้งหมด นอกจากนี้ ยังทำให้สามารถเพิ่มปริมาณการกำจัดขยะชุมชนมากขึ้นและลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
- โครงการ เปลี่ยนเชื้อเพลิงหม้อไอน้ำ สำหรับโรงไฟฟ้า TG 8 ขนาด 150 เมกะวัตต์
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงงานก่อสร้างและติดตั้ง RDF Boilers 160TPH จำนวน 3 ชุด เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้า TG8 เปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงขยะทดแทนถ่านหินตั้งแต่ปี 2565 และอยู่ระหว่างการติดตั้ง Boiler เพิ่มเติม มีความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 25 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและใช้เชื้อเพลิงขยะแทนถ่านหินได้ครบทั้งหมด ภายในปี 2568 ซึ่งจะทำให้การผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำนวน 440 เมกะวัตต์ เปลี่ยนเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งหมด
- โครงการก่อสร้างเตาเผาขยะและหม้อไอน้ำ B16
เป็นเตาเผาชนิด Grate Incinerator เพื่อนำมาจัดการส่วนที่เหลือจากคัดแยกขยะในการผลิตเชื้อเพลิงที่เป็นวัสดุเหลือใช้งาน นำมาเผาด้วยเตาเผาระบบตะกรับ โดยมีความสามารถในการกำจัดได้ 800 ตัน ต่อวัน และนำความร้อนจากการเผาดังกล่าวมาผลิตไอน้ำ ได้ 80 ตัน/ ชม. สามารถผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ 15 เมกะวัตต์ ปัจจุบันมีความคืบหน้าโครงการประมาณ ร้อยละ 20 คาดว่าจะแล้วเสร็จ ในปลายปี 2567
- โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Farm (Zone 1-2)
ตั้งอยู่ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยมีกำลังติดตั้งบนพื้นดิน เฟส 1ขนาด 61.226 เมกะวัตต์ พีค / 52.20 เมกะวัตต์ เอซี และ เฟส 2 ขนาด 11.99 เมกะวัตต์ พีค / 9.6 เมกะวัตต์ เอซี เพื่อขายไฟฟ้าให้แก่โรงปูนซิเมนต์ เพื่อรองรับปริมาณการเพิ่มการใช้ไฟฟ้าที่เป็นพลังงานทดแทน โดยขณะนี้ได้มีความคืบหน้าโครงการประมาณ ร้อยละ 10 คาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบจำหน่ายประมาณ ปลาย ปี 2567
- โครงการลงทุนโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ Solar Farm (Zone3) ขนาด 99 เมกะวัตต์ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2568
- โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar roof )
เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับโรงงานผลิตกระเบื้องและไฟเบอร์ซีเมนต์ของทีพีไอ โพลีน ขนาดติดตั้ง 6.012 เมกะวัตต์ พีค / 5.1 เมกะวัตต์ เอซี ปัจจุบันมีความคืบหน้าโครงการประมาณร้อยละ 10 คาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบจำหน่ายประมาณ ปลาย ปี 2567
- โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม Wind Turbine
บริษัทได้ศึกษาและดำเนินการติดตั้ง Wind Turbine ขนาด 5 เมกะวัตต์ ในพื้นที่สัมปทานเหมืองหินปูน เพื่อผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้กับเครื่องจักรกลหนักและรถบรรทุก ของโรงงานปูนซิเมนต์ของบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) โดยได้รับอนุญาตจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ในการดำเนินการแล้ว ซึ่งได้รับการอนุมัติการแก้ไขแผนการทำเหมืองแร่ จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแล้ว คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง กลางปี 2567
- โครงการโรงงานผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ โรงงานที่ 3
ประกอบด้วยเครื่องผลิต 5 ชุด (สายการผลิตที่ 14-18) รองรับขยะเพื่อนำผลิตเชื้อเพลิงได้วันละ 3,000 ตัน เพื่อเตรียมเชื้อเพลิงสำหรับโครงการเปลี่ยนการใช้ถ่านหินทั้งหมดเป็นเชื้อเพลิงขยะ เริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนตุลาคม 2566
- โรงงานคัดแยกและ recycle เถ้าหนัก ( IBA Plant )
บริษัทลงทุนในโรงงานคัดแยกและคัดแยกและ recycle เถ้าหนักที่เป็นของเสียจากกระบวนเผาในหม้อไอน้ำ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นวัตถุดิบทดแทนแร่ shale ในการผลิตปูนซิเมนต์ และใช้ทดแทนทรายในการก่อสร้าง นอกจากนั้นโลหะที่ถูกคัดแยกออกมาจากโรงงานจะถูกจำหน่ายเข้าสู่กระบวนการ recycle ของโรงงานหลอมเหล็ก โดยโรงงานดังกล่าวมีขนาดกำลังการผลิต 2,000 ต่อวัน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างมีความคืบหน้า โครงการ ร้อยละ 30 คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567
- โครงการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เทศบาลตำบลเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา สามารถกำจัดขยะได้ 500 ตัน ต่อวัน อยู่ระหว่างการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 9.95 เมกะวัตต์ ระยะเวลาซื้อขายไฟฟ้าตามสัญญา 20 ปี เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 7.92 เมกะวัตต์ โดยมีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ( PPA ) กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และได้รับใบอนุญาตก่อสร้างแล้ว อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความคืบหน้าโครงการประมาณร้อยละ 10 คาดว่าจะแล้วเสร็จและจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ประมาณต้นปี 2569
- โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะชุมชนเทศบาลนคร นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ตั้งอยู่ที่เทศบาลนครนครราชสีมา กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ ระยะเวลาซื้อขายไฟฟ้าตามสัญญา 20 ปี บริษัทได้รับการประกาศเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกในการบริหารโครงการ แต่เนื่องจากมีการร้องเรียก จากคู่แข่งในการประมูล ดังนั้นจึงอยู่ในระหว่างรอคำพิพากษา จากศาลปกครองสูงสุด หากผลการตัดสินเป็นบวก คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาและดำเนินการโครงการได้ภายในปี 2568 กำหนดเสร็จประมาณ ปี 2569 เมื่อลงนามสัญญาดังกล่าว ทางเทศบาลนครฯ จะต้องว่าจ้างให้ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ ดำเนินการกำจัดขยะโดยขนส่งมายังโรงไฟฟ้าที่ สระบุรี ในช่วงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าว
- โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะชุมชน เทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
บริษัทเข้าประมูลโครงการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เป็นโรงไฟฟ้าไฟฟ้าระบบปิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ กำลังการขายไฟฟ้า 8 เมกะวัตต์ โดยบริษัทได้รับการประกาศเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก มีการลงนามสัญญาโครงการดังกล่าวกับ เทศบาลเมืองมุกดาหาร เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียบร้อยแล้ว
บริษัทได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน เพื่อหาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้บริษัทสามารถกำจัดจุดด้อยในการดำเนินการธุรกิจ ตลอดจนการหาโอกาสที่จะเพิ่มรายได้และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกำไร โดยมีกำหนดเป้าหมายในหน่วยงานผลิตย่อย การวัดประสิทธิผล การนำเสนอข้อมูลและผลการดำเนินการ สื่อสารให้พนักงานรับทราบข้อมูลและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้เป็นทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นกลไกในการดำเนินการเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายของบริษัท ตลอดจนการมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจตามแผนพัฒนาการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) และการแสวงหาความร่วมมือและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท
ผลการดำเนินงานในปี 2566
ในปี 2566 บริษัทมีการกระจายมูลค่าเศรษฐกิจทางตรงไปยังผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ก่อให้เกิดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจสะสมจำนวน 889.90 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายละเอียดทางเศรษฐกิจ |
ล้านบาท* |
(A) มูลค่าเศรษฐกิจทางตรง (Direct Economic Value Generated) |
|
รายได้ (Revenues) |
10,989.81 |
(B) การกระจายมูลค่าเศรษฐกิจทางตรง (Direct Economic Value Distributed) |
|
ต้นทุนการดำเนินงาน (Operating costs) |
6,978.41 |
ค่าจ้างและสวัสดิการพนักงาน (Employee wages and benefits) |
143.14 |
เงินที่ชำระแก่เจ้าของเงินทุน (Payments to providers of capital) |
2,894.79 |
เงินที่ชำระแก่รัฐ (Payments to government) |
16.95 |
การลงทุนในชุมชน (Community investments) |
66.62 |
รวม |
10,099.91 |
(C) มูลค่าเชิงเศรษฐกิจสะสม (Economic value retained) (A-B) |
889.90 |
หมายเหตุ : * จากงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท