การเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน

 

 

 

การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

การวางรากฐานในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทให้ความสำคัญในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างสมดุล ด้วยหลักบรรษัทภิบาล ภายใต้การดูแลกิจการที่ดี และการเคารพในสิทธิมนุษยชน ควบคู่ไปกับแนวทางบริหารจัดการธุรกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยึดความถูกต้องและปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริม BCG Model ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคมในประเทศอย่างทั่วถึง สามารถกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัทได้ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ได้แก่ พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และชุมชนท้องถิ่น บนพื้นฐานหลักสิทธิมนุษยชน โดยกำหนดเป็นนโยบายของบริษัททั้งจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) จรรยาบรรณคู่ค้าด้านการจัดซื้อ จัดหา ว่าจ้าง (Supplier Code of Conduct) ที่ทำร่วมกันกับคู่ค้า และการปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ รวมถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานไทย พ.ศ. 2560 และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization : ILO) 

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิพนักงาน

บริษัทมีการบริหารจัดการด้านแรงงานบนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชนในเรื่องความหลากหลายต่าง ๆ อาทิ เพศ ศาสนา ความเชื่อ เป็นต้น การให้โอกาสในการทำงานและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ ให้สิทธิเสรีภาพในการสมาคม และการร่วมเจรจาต่อรองกันตามสิทธิขั้นพื้นฐาน มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน ต่อต้านการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฎหมาย ไม่มีการใช้แรงงานเกณฑ์ (แรงงานที่ถูกเกณฑ์มาให้ทำงาน โดยผิดกฎหมาย) และไม่มีการใช้แรงงานบังคับ (การบังคับให้แรงงานทำงานเกินเวลากว่าที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน) 

บริษัทได้ปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน มีการตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ โดยมีตัวแทนพนักงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการร่วมเจรจาต่อรองกับบริษัทเกี่ยวกับข้อตกลงที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน บริษัทมีการประเมินผลการทำงานของพนักงานทุกคนด้วยหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและนำผลการประเมินการทำงานของพนักงานมาใช้ในการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม มีการจัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ แก่พนักงานตามความเหมาะสมให้สอดคล้องกับตำแหน่งงานและลักษณะงานที่รับผิดชอบ เพื่อช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าและพัฒนาศักยภาพแก่พนักงาน บริษัทยังมีการวัดระดับความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานที่มีต่อบริษัทเป็นประจำทุกปี และนำผลการประเมินความพึงพอใจไปพิจารณาจัดทำโครงการ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติเพื่อปรับปรุงการดูแลและส่งเสริมศักยภาพของพนักงาน นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดให้มีระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานแก่พนักงานเป็นอย่างดี

บริษัทให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิคู่ค้า

บริษัทได้ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม จัดให้มีกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใสและการแข่งขันที่เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ค้า ส่งเสริมให้คู่ค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนโดยการไม่ใช้แรงงานเด็ก แรงงานเกณฑ์และแรงงานบังคับ ทั้งนี้  บริษัทได้นำประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และอาชีวอนามัยและความปลอดภัยผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในจรรยาบรรณคู่ค้าด้านการจัดซื้อ จัดหา ว่าจ้าง (Supplier Code of Conduct) ของบริษัทที่ทำร่วมกับคู่ค้า โดยบริษัทได้ประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG Risk) ของคู่ค้าเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าของบริษัทจะดำเนินธุรกิจอย่างเคารพสิทธิมนุษยชน บริษัทยังได้จัดให้มีระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานแก่คู่ค้า ผู้รับเหมาอย่างเหมาะสมอีกด้วย

บริษัทให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิลูกค้า

โดยปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม ทั้งการผลิตและส่งมอบไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ และปลอดภัยในการจ่ายกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง  มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า  รวมถึงมีการสำรวจและประเมินความพึงพอใจของลูกค้าทั้งลูกค้าโรงไฟฟ้า และลูกค้าโรงงานเชื้อเพลิงขยะเป็นรายไตรมาส

บริษัทให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่น

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนท้องถิ่น โดยให้การดูแล สนับสนุน และสานสัมพันธ์อันดีกับชุนชุน มีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของของชุมชนอย่างต่อเนื่อง และยังได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ CSR-DIW Continuous รายงานผลการสำรวจติดตามตรวจสอบด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนของโครงการโรงไฟฟ้า และรายงานสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนของโครงการโรงไฟฟ้า เป็นประจำทุกปี เพื่อสำรวจข้อกังวลของชุมชนและสังคมที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัท และนำข้อกังวลที่สำรวจพบมาแก้ไขปรับปรุงเพื่อลดผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนและสังคมโดยรวม รวมถึงส่งเสริมการจ้างพนักงานจากชุมชนโดยรอบ และจ้างแรงงานชุมชนเพื่อการปลูกป่าประจำปี เพื่อสนับสนุนให้คนในชุมชนมีรายได้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท

เป้าหมายการดำเนินงาน

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจซึ่งปรากฏอย่างชัดเจนจากความมุ่งมั่นผ่านนโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัท อีกทั้งได้เริ่มจัดให้มีกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยการประเมินความเสี่ยงจากโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อช่วยให้บริษัททราบถึงผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสียผู้จากภายในและภายนอกองค์กร และยังช่วยให้บริษัทสามารถระบุและจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในระดับองค์กร ซึ่งส่งผลให้บริษัทสามารถวางแผนจัดการผลกระทบจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงสูงได้ด้วยการประเมินผลกระทบเพิ่มเติมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence : HRDD)

ด้วยเหตุที่บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนที่ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทอาจได้รับผลกระทบจากการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทจึงมีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence : HRDD) โดยคณะทำงานพัฒนาความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

 

                                                                                                                         

 

  1. ประกาศนโยบายเป็นข้อผูกพันเชิงนโยบาย (Policy Commitment)

บริษัทมีการกำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทให้ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัททั้งพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และชุมชนท้องถิ่น ได้แก่ จรรยาบรรณ ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์ (Code of Conduct) จรรยาบรรณคู่ค้าด้านการจัดซื้อ จัดหา ว่าจ้าง (Supplier Code of Conduct) ประกาศเรื่องนโยบายสิทธิมนุษยชนสากลของบริษัท เลขที่ 006/2559 และประกาศ เรื่องนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy) เลขที่ บค 0017/2564

 

                 จรรยาบรรณ ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์ (Code of Conduct)

http://www.tpipolenepower.co.th/index.php/th/th-aboutus/code-of-conduct-th

 

 

จรรยาบรรณคู่ค้าด้านการจัดซื้อ จัดหา ว่าจ้าง (Supplier Code of Conduct)

http://www.tpipolenepower.co.th/index.php/th/th-aboutus/supplier-code-of-conduct-th

 

 

ประกาศเรื่องนโยบายสิทธิมนุษยชนสากลของบริษัท เลขที่ 006/2559 และประกาศ

เรื่องนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy)

  http://www.tpipolenepower.co.th/index.php/th/th-aboutus/pdpa

 

 

  1. การปลูกฝังผ่านนโยบายองค์กร

บริษัทมุ่งมั่นต่อการดำเนินตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน โดยส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนทั่วทั้งองค์กร มีการอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนให้แก่พนักงานทุกระดับภายในองค์กร  และมีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง

  1. การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทได้มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และจะทำการศึกษาทบทวนประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าแผนงาน และมาตรการการบรรเทา แก้ไข และเยียวยาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทนั้้น มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นปัจจุบัน โดยผลจากการประเมินความเสี่ยงที่ได้นั้นจะช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจ ตามหลักสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการเตรียมตัวรับมือและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน

3.1 กำหนดขอบเขตในการตรวจสอบ

บริษัทได้พิจารณากิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติงานที่สำคัญของบริษัท ได้แก่ สำนักงานกรุงเทพ โรงไฟฟ้าสระบุรี ที่ดำเนินธุรกิจหรือมีกิจกรรมร่วมกับพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และชุมชนท้องถิ่นบริเวณใกล้เคียง สรุปได้ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า ดังนี้

 

                               

3.2 ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงโดยอยู่ภายใต้นโยบายของบริษัท โดยได้นำหลักเกณฑ์ของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission - Enterprise Risk Management (COSO-ERM) มาเป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย  8 องค์ประกอบ ได้แก่

  1. Internal Environment (สภาพแวดล้อมภายใน)
  2. Objective Setting (การกำหนดวัตถุประสงค์)
  3. Event Identification (การบ่งชี้เหตุการณ์)
  4. Risk Assessment (การประเมินความเสี่ยง)
  5. Risk Response (การตอบสนองต่อความเสี่ยง)
  6. Control Activities (กิจกรรมควบคุม)
  7. Information & Communication (สารสนเทศและการสื่อสาร)
  8. Monitoring (การติดตามประเมินผล)

สำหรับเกณฑ์การประเมินบริษัทได้พิจารณาระดับความรุนแรงของผลกระทบและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนตามข้อ 3.1 ข้างต้น

 

3.3 ลำดับความเสี่ยงของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน

จากผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน พบว่าประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงสูงมี 1 ประเด็น คือความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน สำหรับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ในห่วงโซ่คุณค่าจะมีความเสี่ยงปานกลางถึงต่ำ ดังนี้

 

ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

 

ระดับความเสี่ยงของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน

ความเสี่ยงสูง

ความเสี่ยงปานกลาง

ความเสี่ยงต่ำ

1. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 

1. ประสิทธิภาพ ความพร้อมและเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า

2. การไม่เลือกปฏิบัติ

3. ความหลากหลายและโอกาสแห่งความเท่าเทียม

4. เสรีภาพและการเจรจาต่อรองร่วม

5. แรงงานเด็ก

6. แรงงานเกณฑ์ และแรงงานบังคับ

7. ชุมชนท้องถิ่น

8. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

1. ข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย (รปภ.)  

 

 

 

สำหรับประเด็นอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่มีความเสี่ยงสูงนั้น บริษัทได้มีกำหนดแนวทางการควบคุมการดำเนินงานที่เป็นไปตามมาตรสากลอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะเกิดความปลอดภัยแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดยรายละเอียดสามารถดูเพิ่มเติมได้ใน หัวข้อ        อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน ต่อไป

 

หมายเหตุ  :  คะแนนระดับความเสี่ยงแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้ :

ระดับความเสี่ยงโดยรวม

ระดับคะแนน

ความหมาย

น้อย

 

1-2

 

ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมความเสี่ยง หรือไม่ต้องมีการจัดการเพิ่มเติม

ปานกลาง

 

3-6

 

ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยต้องมีการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงเปลี่ยนไปยังระดับที่ยอมรับไม่ได้

สูง

 

7-12

 

ระดับความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ โดยต้องมีการจัดการความเสี่ยงเพื่อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ต่อไป

สูงมาก

 

13-25

 

ระดับความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ จำเป็นต้องเร่งจัดการ

ความเสี่ยงเพื่อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทันที

 

 

บริษัทสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงตามแนวทางการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษชน ด้วยมาตรการเพื่อป้องกัน (Preventive) และลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่กำหนดไว้อย่างความเข้มงวด และมีการติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้ระบุไว้ในแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อร้องเรียนและการเยียวยาด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งมีการติดตามผลและรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่จะต้องไม่มีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า

นอกจากนี้ บริษัทยังตระหนักถึงการดำเนินการแก้ไขกรณีที่มีการเกิดเหตุละเมิดใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจะต้องได้รับการเยียวยาที่เหมาะสมกับความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมถึงการป้องกันอย่างทันท่วงที หรือการรับประกันว่าจะไม่เกิดเหตุละเมิดซ้ำ

 

ตาราง ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและการลดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของห่วงโซ่คุณค่าผู้มีส่วนได้เสีย

 

ผู้มีส่วนได้เสีย

ประเด็นผลกระทบ

แนวทางการจัดการผลกระทบ

พนักงาน

  • การเลือกปฏิบัติต่อพนักงาน อันมีเหตุจากความแตกต่างทางเพศ (เพศหญิง เพศชาย) และกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ อายุ ศาสนา ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และชนชั้น
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน
  • สภาพการจ้างงาน แรงงานสัมพันธ์
  • ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน อาจรั่วไหลออกสู่ภายนอก
  • นโยบายที่เกี่ยวข้อง อาทิ นโยบายทางด้านสิทธิมนุษยชน นโยบายป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท รวมถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ
  • ส่งเสริมเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ผ่าน system standards อาทิ ISO 45001 : 2018
  • กำหนดมาตรการการรับมือวิกฤตโควิด-19 อาทิ Work From Home และ Online meeting
  • จัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการที่ส่งเสริมอำนาจการต่อรองของพนักงาน
  • ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน และการสำรวจการมีส่วนร่วมของพนักงานรายปี

คู่ค้า

  • การเลือกปฏิบัติต่อคู่ค้า
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของคู่ค้า
  • ข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ค้า
  • การจ้างแรงงานผิดกฎหมาย

 

 

  • การลงนามการรับทราบและจรรยาบรรณคู่ค้าด้านการจัดซื้อ จัดหา ว่าจ้าง ในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต จัดหาสินค้า วัตถุดิบ และการบริการ
  • ชี้แจงให้ผู้ค้าในระดับปฏิบัติการรับทราบ และปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องตามข้อกำหนด และมาตรฐานของบริษัท และกฎหมายแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่าด้วยเรื่องสิทธิแรงงาน
  • ปฏิบัติตามระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • ประเมินความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากคู่ค้า
  • ประเมินและติดตามผลการดำเนินงานของคู่ค้า ผ่านการประเมิน ESG RISK ของคู่ค้า
  • ประเมิน On-Site ESG Audit กับคู่ค้า

ลูกค้า

  • ความเชื่อถือในประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า
  • ความพึงพอใจในบริการด้านต่าง ๆ
  • การเลือกปฏิบัติกับลูกค้า
  • ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า
  • ประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศรายไตรมาสจัดทำรายงานการดำเนินการผลิตของโครงการเพื่อเสนอต่อ EGAT เดือนละ 1 ครั้ง
  • สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าปีละ 2 ครั้ง
  • ดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า

ชุมชน

  • มาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
  • การเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดของชุมชน
  • ผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การปล่อยมลพิษทางอากาศ การจัดการของเสียที่ไม่เหมาะสม การเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด
  • ให้ความใส่ใจดูแลแก้ปัญหากับชุมชนโดยจัดทำรายงานผลการสำรวจติดตามตรวจสอบด้านเศรษฐกิจและสังคม และรายงานสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนรายปี
  • ดำเนินการมีส่วนร่วมสานสัมพันธ์กับชุมชนผ่านโครงการเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง
  • นโยบายและแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ไม่ขัดขวางการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด เช่น ไม่ปิดกั้นแหล่งน้ำหรือดึงน้ำชุมชนมาใช้จนก่อให้เกิดภาวะแล้ง
  • จัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ( Environmental  Management System) พร้อมมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะสั้นและระยะยาว
  • ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ระบุไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
  • พัฒนานวัตกรรมเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

 

  1. การเยียวยาผลกระทบ

การให้การเยียวยาในกรณีที่มีการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทจะมีกระบวนการรับข้อร้องเรียน ด้วยคาดหมายให้พนักงานของบริษัททุกคนร่วมกันสอดส่องดูแล การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ โดยสนับสนุให้มีการรายงานโดยสุจริตถึงการปฏิบัติที่มีการขัดหรือสงสัยว่าจะขัดและละเมิดสิทธิเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยข้อมูลที่ได้รับจะถือเป็นความลับ ซึ่งทุกข้อร้องเรียนที่มีหลักฐานชัดเจนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเสอภาค โปร่งใส และเอาใจใส่ รวมทั้งให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย  โดยมีการกำหนดระยะเวลาการตรวจสอบและสอบสวนข้อร้องเรียนอย่างเหมาะสม  และมีแนวทางคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย ที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิ อันเกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยจะพิจารณาเยียวยาชดเชยค่าเสียหายให้ไม่ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด           

การรับเรื่องร้องเรียน

บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 26/56 อาคารทีพีไอ ทาวเวอร์ ถ.จันทน์ตัดใหม่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120   

โทรศัพท์ 02 2131039

EMAIL:  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 ไม่มีรายงานหรือข้อร้องเรียนในการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน ดังนั้น จึงไม่มีการดำเนินการแก้ไขเยียวยาแต่อย่างใด

 

  1. การติดตามผลและการรายงาน

บริษัทดำเนินการติดตามผลการปฏิบัติตามมาตราการบรรเทาผลกระทบ ด้านสิทธิมนุษยชนที่กำหนดไว้โดยมุ่งเน้นการบรรเทาและลดผลกระทบเชิงลบ ทั้งนี้ หน่วยงานที่ได้นำมาตรการบรรเทาผลกระทบไปดำเนินการจะต้องมีการติดตามตรวจสอบและทบทวนแผนการดำเนินการเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการประเมินเพิ่มอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าผลกระทบได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว

 

การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในปี 2566

 

บริษัทได้กำหนดเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมและปกป้องการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยสามารถประเมินความเสี่ยงและลดโอกาสการเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ในอนาคต มีการเสริมสร้างความตระหนักในด้านการเคารพสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างคุณค่า พัฒนา และต่อยอดโครงการต่าง ๆ โดยเพิ่มการมีส่วนร่วมที่ยึดหลักการเคารพสิทธิมนุษยชนให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่า

 โดยในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินงานในด้านสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ดังนี้

การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร

การเคารพสิทธิพนักงาน

-  มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการชุดใหม่ประจำปี 2566 เพื่อเป็นตัวแทนพนักงานที่มี บทบาทหน้าที่ในการร่วมเจรจากับบริษัทเกี่ยวกับข้อตกลงที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน

-  ให้โอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการจ้างงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติซึ่งครอบคลุมทั้งผู้พิการและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอื่น โดยใน ปี 2566 ได้จ้างพนักงานใหม่เพิ่มรวมทั้งสิ้นจำนวน 68 คน ประกอบด้วยพนักงานทั่วไป จำนวน 62 คน ผู้สูงอายุจำนวน 3 คน และคนพิการจำนวน 3 คน  รวมทั้งสนับสนุนเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามมาตรา 23  ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ พ.ศ. 2550 จำนวน 957,760.- บาท เทียบเท่าการจ้างงานคนพิการจำนวน 8 คน 

-   บริหารและพัฒนาศักยภาพและทักษะให้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการตั้งเป้าหมาย  ฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อคนต่อปี ซึ่งบริษัทสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายเท่ากับ 33.88 ชั่วโมงต่อคนต่อปี 

-   การวัดระดับความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรประจำปี 2566 พบว่า ได้ผลคะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละ 83.20 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ที่ร้อยละ 75 โดยบริษัทได้นำผลสำรวจความคิดเห็นของพนักงานดังกล่าว ไปพัฒนากิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจของพนักงานในระดับสูงสุด

  • การดูแลพนักงานในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน พบว่า 
    จำนวนผู้บาดเจ็บถึงขั้นเสียชีวิตจากการทำงาน เป็นศูนย์  อัตราของการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับงานที่มีผลกระทบสูง เป็นศูนย์ และ อัตราการเจ็บป่วยจากโรคจากการทำงาน เป็นศูนย์  ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายด้านอาชีวอนามัย  และความปลอดภัยที่บริษัทกำหนดไว้

 

การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร

การเคารพสิทธิคู่ค้า

- คู่ค้าได้ลงนามรับทราบจรรยาบรรณคู่ค้าด้านการจัดซื้อ จัดหา ว่าจ้าง (Supplier Code of Conduct) ว่าด้วยแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน ที่บริษัทผลักดันให้คู่ค้าต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 96.05 ของคู่ค้าจำนวนทั้งสิ้น 557 ราย

- มีการประเมินความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากคู่ค้าของบริษัท และประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG Risk) กับคู่ค้าทางตรง (Critical Tier 1) จำนวน 39  ราย คิดเป็นร้อยละ 7 ของคู่ค้าทั้งหมด 557 ราย สรุปว่าอยู่ในเกณฑ์น่าเชื่อถือได้ ไม่มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากคู่ค้า และด้าน ESG ในทุกหัวข้อการประเมิน 

- ยกระดับกระบวนการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน มุ่งเน้นการลดความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนและยกระดับคุณภาพชีวิตในสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านแรงงาน สุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี โดยบริษัทมีการให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจและการตระหนักรู้ด้านการเคารพสิทธิมนุษยชน และมีการสุ่มตรวจสอบแบบลงพื้นที่จริง ซึ่งพบว่าคู่ค้าไม่มีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

การเคารพสิทธิลูกค้า

 - ผลิตและส่งมอบไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ และปลอดภัยในการจ่ายกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
- ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าโรงไฟฟ้า (2 ราย ได้แก่ กฟผ. และ บมจ.ทีพีไอ โพลีน) ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 100% โดยบริษัทได้กำหนดเป้าหมายความพึงพอใจของลูกค้าโรงไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 80% ต่อปี
- ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าของโรงงานผลิตเชื้อเพลิงขยะ และ บมจ.ทีพีไอ โพลีน ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 95.83% โดยบริษัทได้กำหนดเป้าหมายความพึงพอใจของลูกค้าโรงงานผลิตเชื้อเพลิงขยะไม่ต่ำกว่า 80% ต่อปี

 -   ส่งมอบไฟฟ้าให้กับลูกค้าทุกรายได้อย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินงานภายใต้ความปลอดภัยซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกค้าของบริษัทและบริษัทในเครือ

 

การเคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่น

-  การผลิตไฟฟ้าที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่สร้างผลกระทบต่อชุมชนและสังคม มีการตอบสนองนโยบายการลดการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินอันก่อให้เกิดมลพิษสูง และให้ความใส่ใจในการใช้พลังงานทดแทนเป็นเชื้อเพลิง โดยในปี 2566 โครงการสร้างหม้อไอน้ำใช้เชื้อเพลิงทดแทนแล้วเสร็จ จำนวน 2 ชุด และจะแล้วเสร็จในปี 2569 จำนวน 3 ชุด ทำให้สามารถใช้เชื้อเพลิงทดแทนในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2568

-  มีการสำรวจตรวจสอบสภาพชุมชนและข้อกังวลของชุมชนและสังคมที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัท โดยได้จัดทำรายงานผลการสำรวจติดตามตรวจสอบด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทประจำปี 2566 รายงานสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนต่อโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทประจำปี 2566 และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ CSR-DIW Continuous ประจำปี 2566

-  เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 บริษัทได้ร่วมกับผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ต.ทับกวาง ต.ท่าคล้อ อ.แก่งคอย และ ต.มิตรภาพ ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ปลูกป่าภายใต้ “โครงการปลูกป่า TPIPP ลดร้อน รักษ์โลก” โดยปลูกต้นตะแบก 1,000 ต้น ต้นสัก 1,000 ต้น และต้นสะเดา 1,000 ต้น  ในพื้นที่ 100 ไร่ ภายในโรงงานสระบุรี

-  สร้างการมีส่วนร่วมและดำเนินโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้าและสังคมโดยรวม โดยยึดหลักการเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานและความมั่นคงทางอาชีพ

- ได้สนับสนุนโครงการและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ รวมทิ้งสิ้นประมาณ 43.34 ล้านบาท ให้แก่ชุมชน สถานศึกษา วัด โรงพยาบาล และหน่วยงานราชการต่างๆ โดยได้บริจาคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทีพีไอโพลีน ได้แก่ ปูนซิเมนต์ วัสดุก่อสร้าง ปุ๋ยชีวะอินทรีย์ น้ำดื่ม และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเพื่อป้องกันเชื้อก่อโรค

- ได้สนับสนุนงบประมาณภาคสมัครใจเพื่อช่วยเหลือชุมชนและสังคมรอบโรงไฟฟ้า ได้แก่

(1) กองทุนประกันสุขภาพแก่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ดำเนินการตั้งแต่ปี 2562 ณ สิ้นปี 2566 เงินกองทุนฯ มียอดสะสมรวม 3,020,173.04 บาท

(2) กองทุนเพื่อโครงการวิจัยพัฒนาอาชีพชุมชนและอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการตั้งแต่ปี 2562 ณ สิ้นปี 2566 เงินกองทุนฯ มียอดสะสมรวม 1,866,800 บาท

(3) งบสนับสนุนคุณภาพด้านบุคลากรอุปกรณ์ทางการแพทย์และงานวิจัยทางด้านสาธารณสุข ดำเนินการตั้งแต่ปี 2562 ณ สิ้นปี 2566 งบสนับสนุนมียอดเงินสะสมรวม 7,970,443.80 บาท

(4) งบสนับสนุนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  เพื่อใช้สนับสนุนการเพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลและบุคลากรสาธารณสุข ดำเนินการตั้งแต่ปี 2562 ณ สิ้นปี 2566 งบสนับสนุนมียอดเงินสะสมรวม 356,273  บาท 

(5) งบสนับสนุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้กับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตั้งแต่ปี 2562 ณ สิ้นปี 2566 งบสนับสนุนมียอดเงินสะสมรวม 786,000 บาท